ค้นเจอ 510 รายการ

ลก

หมายถึงว. หก; (โบ) เรียกลูกชายคนที่ ๖ ว่า ลก, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๖ ว่า อก.

ไว้ทุกข์

หมายถึงก. แต่งกายหรือแสดงเครื่องหมายตามประเพณีนิยมว่าตนมีทุกข์เพราะบุคคลสำคัญในครอบครัวเป็นต้นตายไป เช่น ไว้ทุกข์ให้พ่อ.

ทรเหล

หมายถึง[ทอระเหน] (กลอน) น. ความลำบากในการเดินทางไป เช่น เขาก็บอกความทุกข์ทรเหล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).

ก่อง

หมายถึงน. เครื่องประดับหน้าอก; ชื่อแผ่นผ้าที่ปิดอกหญิงคล้ายเต่า ที่หญิงรุ่นสาวใช้.

สบายใจ

หมายถึงว. ไม่มีทุกข์มีร้อน เช่น ลูก ๆ เรียนจบหมดแล้วก็สบายใจ ทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้วสบายใจ.

นรก

หมายถึง[นะ-] น. แดนหรือภูมิที่เชื่อกันว่าผู้ทำบาปจะต้องไปเกิดและถูกลงโทษ, โดยปริยายหมายถึงแดนที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน. (ป., ส.).

ร่างแห

หมายถึงน. สิ่งที่ถักด้วยด้ายเป็นต้น เป็นตาข่ายสำหรับจับปลา, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ร่างแหคลุมผม กระเป๋าร่างแห.

เขือม

หมายถึงก. เข้มแข็ง เช่น ทั้งอกไหล่ก็ผายผึ่งผงาดเงื้อมเขือมขยัน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

จำ

หมายถึงก. อาการที่ต้องฝืนใจทำ เช่น จำใจจากแม่เปลื้อง ปลิดอก อรเอย. (นิ. นรินทร์).

กลางทาสี

หมายถึง(กฎ; โบ) น. เรียกหญิงที่มีทุกข์ยาก ชายช่วยไถ่มาเลี้ยงเป็นเมีย ว่า เมียกลางทาสี. (สามดวง).

เสียธรรมเนียม

หมายถึงก. ผิดไปจากแบบแผนที่เคยปฏิบัติกันมา เช่น เมื่อเวลาไปไหว้พระควรมีดอกไม้ธูปเทียนไปด้วย อย่าให้เสียธรรมเนียม.

สุม

หมายถึงก. วางทับซ้อน ๆ กันลงไปจนสูงเป็นกองอย่างไม่มีระเบียบ เช่น สุมหญ้า สุมฟาง สุมหนังสือไว้เต็มโต๊ะ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ความทุกข์สุมอก. (โบ) น. ต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ เช่น สุมม่วง คือ ป่าม่วง. (จารึกสุโขทัย).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ