ค้นเจอ 294 รายการ

จรรยา

หมายถึง[จัน-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ เช่น จรรยาแพทย์, นิยมใช้ในทางดี เช่น มีจรรยา หมายความว่า มีความประพฤติที่ดี. (ส. จรฺยา; ป. จริยา).

คุกคาม

หมายถึงก. แสดงอำนาจด้วยกิริยาหรือวาจาให้หวาดกลัว, ทำให้หวาดกลัว เช่น ภัยคุกคาม, ในบทกลอนใช้ว่า คุก ก็มี เช่น ไป่ขู่ไป่คุก ไป่รุกรุมตี. (สมุทรโฆษ).

ซุน

หมายถึงก. ซวนไปข้างหน้า เช่น เดินหัวซุน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นพูดว่า ใช้เสียหัวซุน ก็คือ ใช้เสียจนโงหัวไม่ขึ้นหรือใช้เสียจนไม่มีเวลาว่าง.

ไขว้

หมายถึง[ไขฺว้] ก. ขัด เช่น ไขว้เฉลว, สับกัน เช่น ส่งของไขว้ คือ เอาของคนหนึ่งไปส่งคืนให้อีกคนหนึ่ง, ก่ายสับกัน เช่น ไขว้ขา; กิริยาที่เตะตะกร้อด้วยบิดเท้าไปอีกข้างหนึ่ง เรียกว่า เตะไขว้.

เต้น

หมายถึงก. กิริยาที่ยืนอยู่แล้วยกเท้าขึ้น ๆ ลง ๆ ถี่ ๆ, เคลื่อนไหวขึ้น ๆ ลง ๆ หรือไป ๆ มา ๆ เช่น เนื้อเต้น อกเต้น, ยกขาขึ้นลงให้เข้าจังหวะกับดนตรี เช่น เต้นระบำ.

โอด

หมายถึงน. ชื่อเพลงสำหรับใช้เป็นหน้าพาทย์บรรเลงประกอบกิริยาร้องไห้ สลบหรือตาย; วิธีดำเนินทำนองเพลงไทยอย่างหนึ่ง ซึ่งดำเนินไปโดยแช่มช้าโหยหวน และโศกซึ้ง. ก. ร้องไห้.

ว่าขาน

หมายถึงก. พูดต่อว่า, พูดติ, เช่น พระมิได้ตอบคำว่าขาน ตรัสแต่กิจการกรุงศรี แต่ดูพระกิริยาพาที เหมือนจะเคลื่อนคลายที่โกรธา ฯ (อิเหนา).

ลอกคราบ

หมายถึงก. กิริยาที่สัตว์บางชนิดเอาคราบออก เช่น งูลอกคราบ ปูลอกคราบ กุ้งลอกคราบ, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นถูกบังคับหรือถูกล่อลวงให้ถอดหรือปลดเครื่องแต่งตัวหรือทรัพย์สินไปจนหมดตัว.

รูด

หมายถึงก. กิริยาที่เอามือกำหรือจับสิ่งซึ่งมีลักษณะยาว ๆ ให้เลื่อนไปตามยาว เช่น รูดชะอม รูดใบมะยม รูดราวบันได เอาใบข่อยรูดปลาไหล.

ห้ามพระแก่นจันทน์

หมายถึงน. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระกาย พระหัตถ์ซ้ายแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ เป็นกิริยาห้าม.

คว้า

หมายถึง[คฺว้า] ก. ยื่นมือไปจับหรือฉวยมาโดยเร็ว, ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ศัพท์นี้ไปคว้ามาจากไหน; กิริยาชักว่าวกระตุกให้หัวว่าวปักลงแล้วช้อนขึ้นไปทางใดทางหนึ่งตามความต้องการ เช่น ว่าวจุฬากับว่าวปักเป้าคว้ากัน.

ล้วงกระเป๋า

หมายถึงก. เอามือสอดเข้าไปในกระเป๋า, ถ้ายืนเอามือล้วงกระเป๋าเวลาอยู่ต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ถือว่าเป็นการแสดงกิริยาที่ไม่สุภาพ; ลักทรัพย์ในกระเป๋าของผู้อื่น เช่น เขาถูกล้วงกระเป๋า ระวังถูกล้วงกระเป๋า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ