ค้นเจอ 246 รายการ

สัตตาหกาลิก

หมายถึงน. ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น นํ้ามัน นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย. (ป.).

เอ้อเร้อเอ้อเต่อ

หมายถึงว. ปล่อยอารมณ์ตามสบาย, ยืดยาด เช่น มัวแต่เอ้อเร้อเอ้อเต่ออยู่นั่นแหละ จะทำอะไรก็ไม่ทำเสียที; มากจนล้น (ใช้แก่กริยากิน), เอ้อเร้อ ก็ว่า.

เสียหู

หมายถึงก. สูญเสียหูไป, โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น เรื่องไร้สาระเช่นนี้ ฉันไม่ฟังให้เสียหูหรอก.

ฉันวุติ

หมายถึง[ฉันนะวุดติ] ว. เก้าสิบหก เช่น เป็นที่หมายฉันวุติโรค. (สิบสองเดือน). (ป. ฉนฺนวุติ).

ฝากสู่

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. อนุญาตให้ชายสมสู่อยู่กินกับหญิงฉันผัวเมียกันได้ตั้งแต่วันสู่ขอแล้วทำพิธีแต่งงานในภายหลัง.

สัมพันธ,สัมพันธ-,สัมพันธ์,สัมพันธน์

หมายถึง[สำพันทะ-, สำพัน] ก. ผูกพัน, เกี่ยวข้อง, เช่น เขากับฉันสัมพันธ์กันฉันญาติ ข้อความข้างหลังไม่สัมพันธ์กับข้อความข้างหน้า. (ไว) น. การแยกความออกเป็นประโยค ๆ หรือส่วนต่าง ๆ ของประโยค แล้วบอกการเกี่ยวข้องของประโยคและคำต่าง ๆ ในประโยคนั้น ๆ. (ป., ส.).

เกษม

หมายถึง[กะเสม] น. ความสุขสบาย, ความปลอดภัย, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สุขเกษม เกษมศานต์. (โบ เขียนเป็น กระเษม, เขษม ก็มี). (ส.; ป. เขม).

ใคร,ใคร,ใคร ๆ

หมายถึง[ไคฺร] ส. ผู้ใดผู้หนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง, (ซึ่งมิได้กำหนดแน่นอนลงไป) เช่น ฉันไม่อยากพึ่งใคร ใคร ๆ ก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้.

ทอดหุ่ย

หมายถึง(ปาก) ว. อาการที่ไม่เอาธุระปล่อยให้เป็นไปตามเรื่องตามราว, อาการที่ปล่อยอารมณ์ตามสบาย, มักใช้ประกอบคำนอน ว่า นอนทอดหุ่ย.

สุคติ

หมายถึง[สุคะติ, สุกคะติ] น. ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความสุขความสบาย, สวรรค์, เช่น ขอให้วิญญาณไปสู่สุคติ. (ป., ส.).

มิตร,มิตร-

หมายถึง[มิด, มิดตฺระ-] น. เพื่อนรักใคร่คุ้นเคย เช่น มิตรแท้ มิตรเทียม ฉันมิตร. (ส.; ป. มิตฺต).

สุดปัญญา

หมายถึงว. ใช้ปัญญาเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด เช่น เลขข้อนี้คิดจนเกือบสุดปัญญาจึงทำได้ ฉันช่วยเขาจนสุดปัญญาแล้วก็ยังไม่สำเร็จ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ