ค้นเจอ 158 รายการ

หูช้าง

หมายถึงน. แผ่นกระดานที่ทำเป็นรูปฉากหรือพัดด้ามจิ้วสำหรับติดกับมุมสิ่งของ, ชื่อฉากซึ่งเป็นเครื่องมือวัดมุมของช่างไม้; แผ่นกระจกหรือพลาสติกที่รถยนต์เป็นรูปคล้ายหูช้าง สำหรับเปิดรับลมหรือระบายลม; ชื่อขนมชนิดหนึ่งปรุงด้วยแป้งกับนํ้าตาลทำเป็นแผ่น ๆ.

แขนะ

หมายถึง[ขะแหฺนะ] (โบ) ก. แกะ, สลัก, เจาะ. น. กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, กระแหนะ ก็ว่า.

กล,กล-

หมายถึง[กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิดเพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง; เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจำเลยให้การเป็นกลความ. (กฎหมาย).

บรรทัดราง

หมายถึงน. อุปกรณ์อย่างหนึ่งของช่างไม้ เป็นเชือกพันลูกรอกอยู่ในรางไม้ เมื่อดึงปลายเชือกออกจากรอก เชือกจะผ่านกระปุกซึ่งมีสีดำบรรจุอยู่ทำให้เชือกติดสี เมื่อดึงเชือกให้ตึงตรงแนวพื้นกระดานเป็นต้นที่ต้องการขีดเส้นแล้วดีด สีจากเชือกจะติดพื้นเป็นเส้นตรงตามต้องการ.

กระแหนะ

หมายถึง[-แหฺนะ] น. ลายปูนปิดทอง. ก. แตะ, เติม; ว่าเปรียบเปรย; กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, แขนะ ก็ว่า.

สว่าน

หมายถึง[สะหฺว่าน] น. เครื่องมือช่างไม้ปลายเป็นเกลียวแหลมสำหรับเจาะไช มี ๒ ชนิด คือ ชนิดหนึ่งเป็นเหล็กปลายเป็นเกลียวแหลมในตัวสำหรับเจาะไชสิ่งเล็ก ๆ หรือบาง ๆ อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกดาล ๒ อันต่อกัน ปลายด้านบนมีแป้นสำหรับมือกด ตรงกลางมีที่สำหรับมือจับหมุนให้ดอกสว่านซึ่งสวมติดกับปลายอีกด้านหนึ่งเจาะไชสิ่งที่ค่อนข้างใหญ่หน้าหนา.

ศิลปะ,ศิลป-,ศิลป์,ศิลป์,ศิลปะ

หมายถึง[สินละปะ-, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้วิจิตรพิสดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).

ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย

หมายถึงน. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีแดงรูปสี่เหลี่ยม มีภาพพระกระบี่คือหนุมานที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพหนุมานจำนวน ๔ กาบมีหางนกยูงเป็นแพนเสียบที่แผ่นกาบ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย โดยธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยอยู่ทางด้านซ้าย และธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา.

ขวาน

หมายถึง[ขฺวาน] น. เครื่องมือสำหรับตัด ฟัน ผ่า ถากไม้ ทำด้วยเหล็กมีสันหนาใหญ่, ถ้าบ้องที่หัวบิดได้สำหรับตัดและถาก เรียกว่า ขวานโยน, ขวานปูลู หรือ ขวานปุลู ก็เรียก, ถ้าด้ามสั้น สันหนา มีบ้องยาวตามสัน เป็นเครื่องมือของช่างไม้ ใช้ตัด ถาก ฟัน เรียกว่า ขวานหมู, ถ้าด้ามยาว ใบขวานใหญ่ เรียกว่า ขวานผ่าฟืน; หมอนที่ทำหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายขวาน ใช้อิง เรียกว่า หมอนขวาน.

ลวดบัว

หมายถึงน. ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มีความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุมหรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็นไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, บัว ก็เรียก.

ทวน

หมายถึงน. อาวุธชนิดหนึ่งคล้ายหอก แต่เรียวเล็กและเบากว่า ด้ามยาวมาก; ไม้ ๒ อันที่ตั้งขึ้นข้างหัวและท้ายเรือต่อ สำหรับติดกระดานต่อขึ้นไป; เครื่องมือช่างทองทำด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่งติดครั่งสำหรับยึดรูปพรรณ อีกข้างหนึ่งสำหรับยึดกับฐานที่ทำไว้โดยเฉพาะเพื่อนั่งสลักได้สะดวก; เครื่องมือช่างเจียระไนทำด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่งติดครั่งสำหรับยึดอัญมณี อีกข้างหนึ่งเป็นด้ามสำหรับถือเพื่อนำไปเจียบนแท่นเจียให้เป็นเหลี่ยมหรือรูปตามต้องการ; ส่วนปลายคันซอไทยบริเวณที่มีลูกบิด; เครื่องดินเผาสำหรับรองตะคันอบนํ้าหอม.

นาย

หมายถึงน. (กฎ) คำนำหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชำนาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นำหน้ายศทหารตำรวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้าตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคำนำราชทินนาม เป็นบรรดาศักดิ์ของข้าราชการในราชสำนักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้สำหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไปด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ