ค้นเจอ 294 รายการ

พบ

หมายถึงก. เห็น (ใช้แก่อาการเห็นซึ่งต่อเนื่องกับกิริยาอื่น เช่น ขุดพบ ค้นพบ ไปพบ หาพบ), ปะ, ประสบ, เจอะ, เจอ, เช่น พบเพื่อน พบอุปสรรค.

หาว

หมายถึงน. ที่แจ้ง, ท้องฟ้า, เช่น กลางหาว. ก. กิริยาที่สูดลมเข้าแล้วระบายลมออกทางปากเมื่อเวลาง่วงนอนเป็นต้น.

เอื้อนอรรถ,เอื้อนเอ่ย,เอื้อนโอฐ,เอื้อนโอฐ

หมายถึง(กลอน) ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้แก่กิริยาที่ทำทีอิดเอื้อนไม่ใคร่พูดออกมาง่าย ๆ.

จิก

หมายถึงก. กิริยาที่เอาจะงอยปากสับอย่างอาการของนกเป็นต้น, กิริยาที่เอาสิ่งมีปลายคมหรือแหลมกดลงพอให้ติดอยู่ เช่น เอาเล็บจิกให้เป็นรอย เอาปลายเท้าจิกดินให้อยู่; (ปาก) โขกสับเมื่อเป็นต่อ เช่น เมื่อได้ท่าก็จิกเสียใหญ่.

ให้ศีล

หมายถึงก. อาการที่พระภิกษุบอกศีลให้ผู้ศรัทธาสมาทานรับ เช่น ทุกคนควรสำรวมกิริยาเวลาพระให้ศีล.

อ่อนช้อย

หมายถึงว. มีกิริยาท่าทางงดงามละมุนละไม, มีลักษณะงอนงาม, มีลักษณะงอนขึ้นอย่างลายกระหนก, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น.

ทอดสะพาน

หมายถึงก. ใช้สื่อสายเข้าไปติดต่อทำความสนิทสนมกับผู้ที่ต้องการคุ้นเคย, แสดงกิริยาท่าทางเป็นทำนองอยากติดต่อด้วย.

ก้มหัว

หมายถึงก. น้อมหัวลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ, โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร.

เยาะ

หมายถึงก. พูดหรือแสดงกิริยาให้เจ็บใจชํ้าใจ โดยย้ำถึงความเสียเปรียบ ความด้อยกว่า หรือความผิดพลาด เช่น เยาะว่า ไหนว่าเก่งนัก ทำไมสอบตก.

ไซ้

หมายถึงก. กิริยาที่นกหรือเป็ดเอาปากยํ้า ๆ ขนหรือหาอาหาร; อาการที่ทำให้ปวดมวน เช่น ยาดำไซ้ท้อง.

ทอย

หมายถึงก. กิริยาที่ตอกลูกประสักหรือตะปูเป็นต้นให้ถอยออกมาจากที่เดิม. ว. ทยอยติด ๆ กันไปไม่ขาดระยะ เช่น เดินทอย ๆ กันเข้าไป. น. เรียกไม้แหลมสำหรับตอกต้นไม้เป็นระยะ ๆ เพื่อเหยียบขึ้นไปว่า ลูกทอย, เรียกกิริยาที่ตอกลูกทอยอย่างนั้นว่า ตอกทอย.

สุขุมาลชาติ

หมายถึง[สุขุมานละชาด] ว. มีตระกูลผู้ดี, มีตระกูลสูง, โดยปริยายหมายความว่า มีลักษณะอย่างผู้ดี เช่น เขาเป็นคนสุขุมาลชาติ กิริยามารยาทเรียบร้อย.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ