ค้นเจอ 125 รายการ

ท่วม

หมายถึงก. ไหลหลาก บ่า หรือเอ่อท้นจนลบพื้นที่หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นํ้าท่วมทุ่ง นํ้าท่วมบ้าน, กลบ เช่น ทรายท่วมเท้า, ซาบซึมไปทั่ว เช่น เหงื่อท่วมตัว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนี้ท่วมตัว ความรู้ท่วมหัว.

องศา

หมายถึงน. หน่วยในการวัดขนาดของมุม โดยกำหนดให้มุมที่รองรับโค้ง ๑ ใน ๓๖๐ ส่วนของเส้นรอบวง มีขนาด ๑ องศา และ ๙๐ องศา เป็น ๑ มุมฉาก; หน่วยในการวัดอุณหภูมิตามชนิดของเครื่องวัด; (โหร) น. ส่วนหนึ่งของจักรราศี คือ วงกลมในท้องฟ้า แบ่งจักรราศีออกเป็น ๑๒ ราศี และแบ่ง ๑ ราศีออกเป็น ๓๐ องศา ฉะนั้นวงกลมจึงเท่ากับ ๓๖๐ องศา. (ส. อํศ).

หน้าหงาย

หมายถึงว. อาการที่หน้าเงยแหงนขึ้น เช่น เขาถูกชกหน้าหงาย; โดยปริยายหมายถึงอาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า เช่น ตั้งใจจะไปขอยืมเงินเขา เขาบอกว่าหนี้เก่าก็ไม่ได้ชำระยังจะมาขอยืมอีก เลยต้องหน้าหงายกลับมา; ที่ผิดไปจากที่คาดหวังไว้มาก เช่น เขาคุยว่าสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แน่ ๆ แต่พอประกาศผลแล้วไม่ได้ ก็หน้าหงายกลับมา.

กมเลศ

หมายถึง[กะมะเลด] (กลอน) น. บัว; ใจ; พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต; ในสันสกฤตหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งพระลักษมี คือ พระนารายณ์ มาจาก กมลา = พระลักษมี + อีศ = เป็นใหญ่).

กรมธรรม์

หมายถึง[กฺรมมะทัน] (กฎ; โบ) น. เอกสารซึ่งทาส ลูกหนี้ยินยอมให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน. (สามดวง); กรมธรรม์ประกันภัย. (ส. กรฺม + ธรฺม).

ผัด

หมายถึงก. เอาสิ่งที่ใช้เป็นอาหารใส่ลงในกระทะที่มีนํ้ามันหรือนํ้าเล็กน้อย ตั้งไฟแล้วพลิกกลับไปมาจนสุก เช่น ผัดข้าว ผัดหมี่, เรียกอาหารที่ทำด้วยวิธีการเช่นนั้น เช่น ข้าวผัด หมี่ผัด; ย้ายไปย้ายมา, หมุนไปมา, ล่อให้ไล่; ขอเลื่อนเวลาไป เช่น ผัดวัน ผัดหนี้; เอาแป้งลูบที่หน้าเพื่อให้นวล เช่น ผัดหน้า.

ค้าง

หมายถึงก. ตกลงมาหรือขึ้นไปติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ติดอยู่กลางทาง, ติดอยู่, เช่น เรือค้างแห้ง ค้างหนี้, ยังไม่แล้วเสร็จตามที่กำหนด เช่น ทำงานค้าง; เหลือกหรืออ้าแล้วเอาลงหรือหุบไม่ได้ เช่น ตาค้าง อ้าปากค้าง ขากรรไตรค้าง; แรมคืน, ค้างคืน ก็ว่า. น. ไม้หลักสำหรับให้ไม้เถาขึ้นเกาะ เช่น ค้างพลู ค้างถั่ว.

จำนอง

หมายถึงก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กำหนด, จำไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง. (ลอ). (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง. (แผลงมาจาก จอง).

กลไก

หมายถึง[กน-] น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่าบุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสำเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง; (วิทยา) กระบวนการต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา เช่น กลไกการย่อยอาหาร กลไกของการสร้างอาหารของพืชโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง. (อ. mechanism).

อินทรวงศ์

หมายถึง[อินทฺระ-] น. ชื่อฉันท์ ๑๒ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีสำเนียงไพเราะดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๗ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๖ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓

ตกเขียว

หมายถึงน. วิธีการที่นายทุนให้เงินแก่ชาวนาหรือชาวไร่กู้เมื่อข้าวในนาลัดใบหรือลำไยมีลูกขนาดหัวแมลงวันแล้ว โดยตกลงกันว่าชาวนาชาวไร่จะให้ข้าวเปลือกหรือลำไยแก่นายทุนแทนเงินหลังจากนวดข้าวแล้วหรือหลังจากเก็บลำไยได้แล้ว, โดยปริยายหมายถึงการที่พ่อแม่รับเงินจากนายทุนซึ่งจ่ายให้เป็นค่าตัวเด็กผู้หญิงซึ่งยังเรียนหนังสือไม่จบไว้ล่วงหน้า เมื่อเรียนจบแล้วนายทุนจะมารับตัวเด็กไปเพื่อค้าประเวณีเป็นการใช้หนี้คืนให้แก่นายทุน.

โรงรับจำนำ

หมายถึงน. สถานที่รับจำนำสิ่งของ, ถ้าเป็นของเทศบาลหรือกรุงเทพมหานคร เรียกว่า สถานธนานุบาล, ถ้าเป็นของกรมประชาสงเคราะห์ เรียกว่า สถานธนานุเคราะห์; (กฎ) สถานที่รับจำนำซึ่งประกอบการรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปรกติธุระ แต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และหมายความรวมตลอดถึงการรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สำหรับสิ่งของนั้นเป็นปรกติธุระ แต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ