ค้นเจอ 86 รายการ

เอ็ง

หมายถึงส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย มักใช้พูดกับผู้น้อยหรือใช้พูดกับเพื่อนฝูงที่อยู่ในวัยเดียวกัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.

หมายถึง[ทะ] (กลอน) ส. ท่าน, เธอ, เช่น ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

กัน

หมายถึง(ปาก) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้เสมอกันหรือผู้น้อยในทำนองกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

ขา

หมายถึง(โบ) ส. เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนคำว่า เขาสองคน เช่น สองขาพ่อลูก หมายถึง เขาสองคนพ่อลูก.

กริยา

หมายถึง[กฺริยา, กะริยา] (ไว) น. คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม. (ส. กฺริยา; ป. กิริยา).

ดิฉัน

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคำสุภาพ, ดีฉัน ก็ว่า, ตามแบบผู้ชายใช้ว่า ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

เรียม

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด สำหรับผู้ชายพูดกับผู้หญิงที่รัก, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. [ข. (ราชา) เริ่ยม = พี่].

หม่อมฉัน

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูดสำหรับเจ้านายที่มีศักดิ์เสมอกันหรือสำหรับผู้หญิงใช้พูดกับเจ้านาย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

ดีฉัน

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคำสุภาพ, ดิฉัน ก็ว่า, ตามแบบผู้ชายใช้ว่า ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

หมอ

หมายถึง(ปาก) ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เรียกเด็กด้วยความเอ็นดูว่า หมอนั่น หมอนี่, ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เรียกผู้ใหญ่ด้วยความหมั่นไส้เป็นต้น, (ใช้แก่ผู้ชาย), เช่น อย่าไปฟังหมอนะ, บางทีก็ใช้ว่า อ้ายหมอนั่น อ้ายหมอนี่ หรือ เจ้าหมอนั่น เจ้าหมอนี่.

หล่อน

หมายถึงส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศหญิง สำหรับผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (โบ) สรรพนามบุรุษที่ ๒ และที่ ๓ ใช้เรียกได้ทั้งบุรุษและสตรี เช่น จงทรงพระกรุณาโปรด ขอประทานโทษเจ้าเวสสันดร หล่อนกระทำละเมิดจิตผิดกระทรวง. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).

เขือ

หมายถึง(กลอน) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่. (ลอ).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ