ค้นเจอ 384 รายการ

กรำ

หมายถึง[กฺรำ] ว. ตรำ, ฝ่า, ทนลำบาก, เช่น กรำแดด กรำฝน, เคี่ยวเข็ญเย็นคํ่ากรำไป. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖).

แนว

หมายถึงน. สิ่งที่มีลักษณะเป็นแถว เช่น แนวสน แนวรั้ว หรือเป็นเส้นเป็นทางยาวไป เช่น ถูกเฆี่ยนเป็นแนว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะเช่นนั้น เช่น แนวความคิด แนวนโยบาย.

สนธยา

หมายถึง[สนทะ-] น. เวลาโพล้เพล้พลบคํ่า, บางทีใช้ว่า ยํ่าสนธยา; ช่วงเวลาที่ต่อระหว่างกลางวันกับกลางคืน คือเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก. (ส.).

ท่านผู้หญิง

หมายถึงน. เดิมใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของเจ้าพระยาและเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิง, ปัจจุบันใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป, ถ้ายังไม่ได้สมรสเรียกว่า คุณ.

ลู่

หมายถึงก. เอนราบเป็นแนวไป ด้วยมีสิ่งอื่นบังคับให้เป็นเช่นนั้น เช่น ต้นสนลู่ไปตามลม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผมของเขาพอถูกฝนก็ลู่ลงมาหมด.

ราชลัญจกร

หมายถึง[ราดชะลันจะกอน] น. ตราของพระมหากษัตริย์ (สำหรับใช้ตีหรือประทับ) เรียกว่า พระราชลัญจกร.

ช้างยืนแท่น

หมายถึงน. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงานพระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น.

เรือพระประทีป

หมายถึงน. เรือที่ใช้ลอยในงานพระราชพิธีลอยพระประทีป ทำด้วยไม้ขุดจำลองจากเรือหลวงที่ใช้ในพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ปักเทียนรายตามหลังกระทงเรือ ถวายให้ทรงจุดและปล่อยลอยไปตามน้ำแทนกระทงหลวงซึ่งมีมาแต่เดิม.

สาวสะ

หมายถึงน. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพรพื้นแดง เดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบพระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางแต่งตัวสะ หรือ นางสะ ก็เรียก, โดยปริยายหมายถึงสาวรุ่น.

สาสน,สาสน-,สาสน์,สาส์น

หมายถึง[สาน, สาสะนะ-, สาดสะนะ-, สาด, สาน] น. คำสั่ง, คำสั่งสอน, เช่น สาสนธรรม; จดหมายของประมุขของประเทศหรือประมุขสงฆ์ที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, ถ้าเป็นจดหมายของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระราชสาส์น, เขียนเป็น พระราชสาสน หรือ พระราชสาสน์ ก็ได้, ถ้าเป็นจดหมายของประธานาธิบดี เรียกว่า อักษรสาส์น, เขียนเป็น อักษรสาสน หรือ อักษรสาสน์ ก็ได้, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราช เรียกว่า สมณสาสน์, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เรียกว่า พระสมณสาสน์. (ป.).

ใน

หมายถึงบ. ตรงกันข้ามกับ นอก, ไม่ใช่นอก, เช่น ในบ้าน ในเมือง; แห่ง, ของ, เช่น พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (ข. ใน ว่า แห่ง, ของ).

เบญจคัพย์

หมายถึงน. เต้านํ้า อยู่ในหมู่ของใช้ในการพระราชพิธี ตามราชประเพณีของไทยใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ทรงรับนํ้าอภิเษกหรือใส่นํ้าเทพมนตร์ ซึ่งจะรดถวายให้แก่พระมหากษัตริย์ หรือพระมหากษัตริย์ทรงรดพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าซึ่งมีพระชนนีเป็นเจ้า, บางแห่งเขียนว่า เบญจครรภ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ