ค้นเจอ 218 รายการ

ลด

หมายถึงก. น้อยลง ตํ่าลง หรือทำให้น้อยลงตํ่าลงกว่าที่มีอยู่เป็นอยู่แต่เดิม เช่น น้ำลด ลดโทษ ลดราคา ลดน้ำหนัก ไข้ลด ลดธงลงจากเสา, ผ่อนลง เช่น ลดฝีเท้า ลดฝีจักร ลดระดับ ลดเสียง, เอาออก เช่น ลดฝาเรือนออกด้านหนึ่งทำให้ห้องโล่งขึ้น, หย่อนตัวลงนั่งหรือนอน เช่น ลดตัวลงนั่ง.

ขว้าว

หมายถึง[ขฺว้าว] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Haldina cordifolia (Roxb.) Ridsdale ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณทั่วไป ลำต้นสูงใหญ่ ใบมนรูปหัวใจ ปลายแหลม ดอกสีเหลือง คล้ายดอกกระทุ่ม แต่เล็กกว่า เนื้อไม้สีเหลือง ละเอียด ใช้ทำฝาบ้าน เครื่องเรือน เครื่องกลึง และเครื่องแกะสลัก, กว้าว ขวาว หรือ คว่าว ก็เรียก.

อุตตานภาพ

หมายถึง[อุดตานะพาบ] (กลอน) ก. นอนหงาย เช่น รวบพระกรกระหวัดทั้งซ้ายขวาให้พระนางอุตตานภาพ. (ม. ร่ายยาว กุมาร), เขียนเป็น อุตตานะภาพ ก็มี เช่น ฉวยกระชากชฎาเกษเกล้าให้นางท้าวเธอล้มลงอุตตานะภาพ. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ). (ป. อุตฺตาน ว่า หงาย + ภาว).

เกาะ

หมายถึงก. จับหรือยึดสิ่งใดไว้เพื่อทรงอยู่ เช่น นกเกาะกิ่งไม้ แมงมุมเกาะฝา, เอาสิ่งมีขอเป็นต้นเกี่ยวเข้ากับสิ่งอื่นเพื่อให้ติดอยู่ เช่น เอาขอเกาะต้นไม้, โดยปริยายหมายความถึงอาการที่เข้าไปติดแน่นอยู่ เช่น ปลิงเกาะ หรือเข้าเป็นหมู่หรือกลุ่มเดียวกัน เช่น ดินเกาะเป็นก้อน บินเกาะหมู่ วิ่งเกาะกลุ่ม; ไปเอาตัวมาโดยอำนาจศาลเป็นต้น เช่น ไปเกาะตัวมา.

ครอบ

หมายถึง[คฺรอบ] ก. เอาของที่มีลักษณะคลุ่ม ๆ คล้ายขันควํ่าเป็นต้นปิดงำไว้ เช่น เอาฝาชีครอบ เอากะลาครอบ. น. แก้วรูปลูกฟักตัดสำหรับครอบพระพุทธรูปหรือเครื่องบูชาเป็นต้น; ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ รูปทรงคล้ายลูกฟักหรือคล้ายน้ำเต้า มีเชิง ฝาครอบเป็นรูปทรงหัวเม็ดทรงมัณฑ์เป็นต้น สำหรับใส่น้ำมนต์.

เกล็ด

หมายถึงน. ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลื่อมกันห่อหุ้มตัวปลาและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด, สิ่งที่แข็งตัวเป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายเกล็ดปลา เช่น เกล็ดพิมเสน นํ้าตาลขึ้นเกล็ด, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานเกล็ด ฝาเกล็ด เกล็ดเสื้อ. ก. ขบให้เมล็ดแตกเพื่อกินเนื้อใน (ใช้แก่สิ่งที่เป็นเม็ดเล็ก ๆ) เช่น เกล็ดเมล็ดแตงโม นกเกล็ดข้าว, โดยปริยายหมายความว่าตัดเอาแต่ที่ดี ๆ เช่น เกล็ดไพ่.

ฮ่อ

หมายถึงน. จีนพวกหนึ่งที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน มีมณฑลยูนนานเป็นต้น, จีนฮ่อ ก็เรียก; ลายเส้นที่เขียนเป็นไพรคิ้ว ไพรปาก บนหน้าโขน ประกอบด้วยเส้นสีแดง ดินแดง และสีทอง เรียกว่า ลายฮ่อ หรือ เส้นฮ่อ; ลายที่เขียนเป็นอย่างแถบผ้าสะบัดกลับไปมา ใช้เขียนเพื่อแบ่งภาพเป็นตอน ๆ ในงานจิตรกรรมฝาผนังหรือจิตรกรรมภาพพระบฏ เรียกว่า ลายฮ่อ.

กรวย

หมายถึงน. ของมีรูปกลม กลวง ยาวเรียวแหลม, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลปีบ เป็นต้น หยอดในกรวยใบตองว่า ขนมกรวย, กระทงมีฝาเป็นกรวยครอบ ข้างในใส่หมากหรือเมี่ยงสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และคู่สวดในการบวชนาค เรียกว่า กรวยอุปัชฌาย์และกรวยคู่สวด; (วิทยา) รูปตันมีลักษณะฐานกลมและแหลมเรียวไปโดยลำดับ เรียกว่า รูปกรวย. (อ. cone).

สัดส่วน

หมายถึงน. ส่วนผสมของสิ่งต่าง ๆ ตามอัตราที่กำหนด เช่น ในการผสมปูนโบกฝาผนังจะใช้ซีเมนต์ ทราย และปูนขาว ตามสัดส่วน ๓ : ๒ : ๑; (คณิต) การเท่ากันของ ๒ อัตราส่วน หมายความว่า อัตราส่วนของปริมาณที่ ๑ ต่อปริมาณที่ ๒ เท่ากับอัตราส่วนของปริมาณที่ ๓ ต่อปริมาณที่ ๔ เช่น ๑ กิโลกรัม, ๒ กิโลกรัม; ๑๐๐ บาท, ๒๐๐ บาท ได้ชื่อว่าเป็นสัดส่วนกันก็เพราะ ๑ กิโลกรัม : ๒ กิโลกรัม = ๑๐๐ บาท : ๒๐๐ บาท. (อ. proportion).

ตั้ง

หมายถึงก. ชูตัว, ชูตัวหรือทำให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าวเอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดำรง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทำให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตำแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้งเปรียญ; กำหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสำรับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คำแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง.

แฟ้ม

หมายถึงน. ภาชนะชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่หรือหวาย รูปร่างคล้ายฝาหอยแครงประกบเป็นคู่ ขอบปากตอนบนมีหูสำหรับสอดไม้คานเพื่อหาบไป ใต้หูมีห่วงและลูกสลักสำหรับขัดปาก ขอบด้านล่างถักพันให้ติดกันอย่างบานพับ ใช้ใส่เสบียงกรัง เช่น ปลาย่าง เนื้อเค็ม พริกแห้ง, ที่สำหรับเก็บแผ่นกระดาษ มีปกหน้าปกหลังทำด้วยกระดาษแข็งเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น ชนิดเจาะข้าง ชนิดมีสปริงสำหรับหนีบกระดาษ ชนิดมีซองสำหรับใส่เอกสาร, กระเป๋าหิ้วสำหรับใส่เอกสาร.

เลีย

หมายถึงก. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เลียริมฝีปาก หมาเลียแผล แมวเลียขน; เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลวเช่นไฟที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือซีดเผือดไป เช่น ผ้าถูกแดดเลียสี ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้; เรียกผมตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด; (ปาก) โดยปริยายเรียกกิริยาประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัขเลียแข้งเลียขาเพื่อให้นายรัก.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ