ค้นเจอ 92 รายการ

สัตยาธิษฐาน

หมายถึงน. การตั้งความจริงใจเป็นหลักอ้าง เช่น ขอตั้งสัตยาธิษฐานอ้างอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก. (ส. สตฺย + อธิษฺาน; ป. สจฺจ + อธิฏฺาน).

พุ่มทรงข้าวบิณฑ์

หมายถึงน. เครื่องบูชาทำด้วยข้าวบิณฑ์ ตั้งบนภาชนะเช่นพาน, เรียกรูปทรงที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ทรงข้าวบิณฑ์ หรือ พุ่มข้าวบิณฑ์; เรียกลายไทยแบบหนึ่งผูกเขียนในรูปทรงเช่นนั้นว่า ลายทรงข้าวบิณฑ์ หรือ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์.

ปรินิพพาน

หมายถึง[ปะรินิบพาน] น. การดับรอบ, การดับสนิท, การดับโดยไม่เหลือ; เรียกอาการตายของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์. (ป.; ส. ปรินิรฺวาณ).

อัพภาน

หมายถึง[อับพาน] น. การชักกลับมา, ในวินัยหมายถึง การรับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส และได้ถูกทำโทษคือ อยู่ปริวาสแล้วให้กลับคืนเป็นผู้บริสุทธิ์, การสวดประกาศเรื่องนี้ เรียกว่า สวดอัพภาน. (ป.).

โต๊ะ

หมายถึงน. ภาชนะมีเชิงสูงรูปคล้ายพาน มีพื้นตื้นสำหรับวางหรือใส่สิ่งของ มักทำด้วยโลหะ เช่น เงิน ทองคำ ทองเหลือง, โตก ก็ว่า, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.

พุ่มกัณฑ์เทศน์

หมายถึงน. ดอกไม้ที่จัดเป็นพุ่มบนพาน ตะลุ่ม หรือ โตก มีเทียนขี้ผึ้งซึ่งติดเงินเหรียญโดยรอบตั้งอยู่ตรงกลาง ปัจจุบันมักใช้ก้านธูปคีบธนบัตรปักไว้ที่ต้นเทียน.

อสัตถพฤกษ์,อัสสัตถพฤกษ์

หมายถึง[อะสัดถะพฺรึก, อัดสัดถะพฺรึก] น. ชื่อต้นไม้ที่พระโคตมพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นแล้วได้ตรัสรู้ เรียกว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ต้นโพธิ์.

เอว

หมายถึงน. ส่วนกลางของร่างกายระหว่างชายโครงกับกระดูกตะโพกทั้ง ๒ ข้าง, กะเอว บั้นเอว หรือ สะเอว ก็ว่า; โดยปริยายหมายถึงส่วนกลางของสิ่งอื่น ๆ ตรงที่คอดเข้าไป เช่น เอวว่าวจุฬา เอวพาน.

จานเชิง

หมายถึงน. ภาชนะกระเบื้องชนิดหนึ่ง ลักษณะแบนกลมคล้ายจาน ยกขอบและมีเชิงอย่างพาน เดิมสั่งทำจากจีน มีทั้งชนิดเขียนลายครามและเขียนสีเบญจรงค์ ใช้ใส่อาหาร.

พุทธาวาส

หมายถึงน. ส่วนหนึ่งของวัดประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม โดยมีกำแพงกันไว้ต่างหากจากส่วนที่พระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ซึ่งเรียกว่าสังฆาวาส, วัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ประกอบสังฆกรรมโดยเฉพาะ โดยไม่มีสังฆาวาส เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว).

นิพพาน

หมายถึง[นิบพาน] น. ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์. ก. ดับกิเลสและกองทุกข์, ตาย (ใช้แก่พระอรหันต์). (ป.; ส. นิรฺวาณ), โบราณใช้ว่า นิรพาณ ก็มี. (จารึกสยาม).

อยู่อาสา

หมายถึง(โบ) น. การที่ผู้ชายไปอยู่บ้านผู้หญิงที่จะแต่งงานด้วย ทำการงานรับใช้ให้แรงงาน เพื่อแสดงตนว่าเป็นคนขยันขันแข็งและประพฤติตนดีสมควรที่จะเข้าไปเป็นเขยของบ้านนั้น เช่น บ่สู่อยู่อาสา หนึ่งน้อย. (กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ