ค้นเจอ 646 รายการ

หงิก

หมายถึงว. งอที่ปลาย เช่น มือหงิก คือ มือเหยียดนิ้วไม่ออก, ใบไม้หงิก คือ ใบไม้ปลายงอ; โดยปริยายหมายความว่า อาการที่เหนื่อยหน่ายเนื่องจากถูกดุ ถูกใช้ หรือทำงานหนักมากเป็นต้น เช่น ถูกแม่ดุเสียหงิกไปเลย, อาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า.

ยาเขียว

หมายถึงน. ยาแก้ไข้ ทำด้วยใบไม้ล้วน มีหลายชนิด เช่น ยาเขียวใหญ่ ยาเขียวเล็ก ยาเขียวมหาอุดม.

หุงข้าวประชดหมา

หมายถึง(สำ) ก. ทำประชดหรือแดกดัน ซึ่งรังแต่จะเสียประโยชน์, มักพูดเข้าคู่กับ ปิ้งปลาประชดแมว ว่า หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว.

โพงพาง

หมายถึงน. เครื่องมือดักปลาชนิดหนึ่ง เป็นถุงตาข่ายรูปยาวรี ใช้ผูกกับเสาใหญ่ ๒ ต้นที่ปักขวางลำนํ้า สำหรับจับปลากุ้งทุกขนาด.

หุบ

หมายถึงก. อาการรวมเข้าของสิ่งที่ขยายออก เช่น หุบร่ม ใบไม้หุบ; อาการที่แสงอาทิตย์ถูกเมฆบดบัง เรียกว่า แดดหุบ.

เหี่ยวแห้ง

หมายถึงว. เหี่ยวแล้วค่อย ๆ แห้งไป เช่น ใบไม้เหี่ยวแห้ง. ก. ขาดความสดชื่นเพราะหดหู่ใจ เช่น จิตใจเหี่ยวแห้ง, แห้งเหี่ยว ก็ว่า.

ไหว

หมายถึงก. สั่น, สะเทือน, กระดิก, เช่น ใบไม้ไหว. ว. สามารถทำได้ เช่น เดินไหว สู้ไหว กินไหว.

หาง

หมายถึงน. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลำตัวสัตว์, ขนสัตว์จำพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ในราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้งเช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วนที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.

ท้องผุท้องพัง

หมายถึงว. เรียกท้องปลาทูเป็นต้นที่ไม่ค่อยสด เมื่อทอดแล้วมีลักษณะแตกโหว่.

มุญชะ

หมายถึง[มุนชะ] น. พืชจำพวกหญ้าปล้อง; ปลาค้าว. (ป., ส.).

สังกะวาด

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในสกุล Pangasius วงศ์ Schilbeidae ลักษณะทั่วไปคล้ายปลาสวาย แต่เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเล็กกว่า เช่น สังกะวาดท้องโต (P. micronemus) สังกะวาดเหลือง (P. siamensis).

เงี่ยง

หมายถึงน. กระดูกแหลมของปลาบางชนิด เช่น ปลากระเบนมีเงี่ยงที่โคนหาง หรือปลาดุกมีเงี่ยงที่ครีบอก, แง่ของสิ่งของบางอย่าง มีรูปหยักตอนปลายเช่นเบ็ดหรือลูกศร.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ