ค้นเจอ 134 รายการ

อห

หมายถึง[อะหะ] น. วัน, วันหนึ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาสในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น สัปดาห์ มาจาก ส. สปฺต + อห = ๗ วัน.

หมายถึงคำประกอบหน้าคำอื่นที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บ่งความว่า กอบด้วย, พร้อมด้วย, เช่น สเทวก ว่า พร้อมด้วยเทวดา. (ป., ส.).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๒ นับเป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น รถ ปรารถนา.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๒ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ปรารภ ลาภ.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๖ นับเป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น รัฐ อัฐ.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคำหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤตมักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.

ธาตุ

หมายถึง[ทาด] น. รากศัพท์ของคำบาลีสันสกฤตเป็นต้น เช่น ธาตุ มาจาก ธา ธาตุ สาวก มาจาก สุ ธาตุ กริยา มาจาก กฺฤ ธาตุ.

ปัตถะ

หมายถึง[ปัดถะ] (แบบ) น. ชื่อมาตราตวงในภาษาบาลี แปลว่า แล่ง, กอบ, คือ ๒ ปัตถะ เป็น ๑ นาฬี (ทะนาน). (ป.).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๗ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ษัฑ.

อติ

หมายถึง[อะติ] คำนำหน้าคำที่มาจากบาลีและสันสกฤตให้มีใจความว่า พิเศษ, ยิ่ง, มาก, เลิศล้น; ผ่าน, ล่วง, พ้นเลยไป, เขียนเป็น อดิ ก็มี. (ป., ส.).

อธิ

หมายถึงคำนำหน้าคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต แปลว่า ยิ่ง, ใหญ่, เช่น อธิปัญญา = ปัญญายิ่ง. (ป., ส. = ยิ่ง, ใหญ่, ทับ).

อาฬหก

หมายถึง[อาละหก] น. ชื่อมาตราตวงในบาลี คือ ๔ นาฬี เป็น ๑ อาฬหก; เสาตะลุง. (ป.; ส. อาฒก).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ