ค้นเจอ 233 รายการ

ตรง,ตรง ๆ

หมายถึง[ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสาให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกำหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบังอำพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรงเข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.

กระโหย่ง

หมายถึง[-โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทำให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.

เรือกราบ

หมายถึงน. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียวแหลมและเชิดขึ้นเล็กน้อย เสริมกราบที่แคมยาวตลอด ๒ ข้างลำเรือ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๓๐ คน แล่นเร็วกว่าเรือแซ เป็นเรือที่ใช้ในราชการมาแต่โบราณ ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคใช้เป็นเรือกลอง เรือแซง หรือเรือกันได้.

โขมดยา

หมายถึง[ขะโหฺมด-] น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, ขมวดยา ก็ว่า.

เรือโขมดยา

หมายถึงน. เรือขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรียว บนหัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยน้ำยาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตราทางชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้.

ม้า

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Equus caballus ในวงศ์ Equidae เป็นสัตว์กีบเดี่ยว รูปร่างสูงใหญ่ ขายาว หางเป็นพู่ มีแผงคอยาว ใช้เป็นพาหนะขับขี่และเทียมรถ; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อัศวินี มี ๗ ดวง, ดาวคอม้า ดาวคู่ม้า ดาวอัศวยุช หรือ ดาวอัสสนี ก็เรียก; เครื่องรองนั่งและรองสิ่งของ มีขาเป็นรูปต่าง ๆ; เรียกตัวหมากรุกที่แกะเป็นรูปม้า.

ขมวดยา

หมายถึง[ขะหฺมวด-] น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, โขมดยา ก็ว่า.

แคร่

หมายถึง[แคฺร่] น. ที่สำหรับนั่งหรือนอนโดยมากมีรูปสี่เหลี่ยม มักทำด้วยฟากหรือไม้ไผ่ซี่ ๆ ถักติดกันเป็นต้น ไม่มีขา ยกไปได้, บางชนิดทำเสาเป็นเครื่องรองรับก็มี เรียกรวม ๆ ทั้งหมดว่า แคร่, บางชนิดใช้วางบนคานหาม สำหรับหามไป, ใช้แก่เจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, บางชนิดใช้วางบนเรือ เรียกว่า แคร่เรือ; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แคร่สำหรับวางเครื่องยนต์.

ฌาน

หมายถึง[ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่งอารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทำจิตให้สงบตามหลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดยปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลำดับที่ประณีตขึ้นไปกว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียกว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความเงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).

สบาย

หมายถึง[สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มีวิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัวสบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย; พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย; ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือนเมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความพอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).

กราบ

หมายถึง[กฺราบ] ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบไหว้ด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ ลงกับพื้น คือ กราบเอาเข่าทั้ง ๒ จดพื้น ฝ่ามือทั้ง ๒ วางราบติดพื้น และหน้าผากจดพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็นคำแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน.

เลย

หมายถึงก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้านไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำกริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลย ไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋าเลย. สัน. จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้ายไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ