ค้นเจอ 3,261 รายการ

ข้าน้อย

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

นิวรณ์

หมายถึงน. สิ่งห้ามกันจิตไว้มิให้บรรลุความดี มี ๕ ประการ คือ ความพอใจรักใคร่ ๑ ความพยาบาท ๑ ความง่วงเหงาหาวนอน ๑ ความฟุ้งซ่านรำคาญ ๑ ความลังเลใจ ๑. (ป.).

ข้าเจ้า

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

แวง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ต้นปรือ. [ดู ปรือ ๑ (๑)].

สัตโลหะ

หมายถึง[สัดตะ-] น. โลหะ ๗ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้าน้ำเงิน” ว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).

เมี่ยง

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นชา. [ดู ชา ๑ (๑)].

เนียมอ้ม

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นเนียม. [ดู เนียม ๑ (๑)].

ยังอีก

หมายถึงใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ หมายความว่า ที่ยังไม่ได้ทำ ยังมีอยู่ เช่น งานที่ยังไม่ได้ทำ ยังอีกเยอะเลย; คำที่ผู้ใหญ่ใช้ขู่เด็กที่ไม่ทำตามสั่ง เช่น เมื่อบอกให้เด็กออกมา เด็กไม่ออกมา ก็จะพูดว่า ยังอีก.

เสียที

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความตั้งใจมั่นหมาย เช่น วันนี้มีเวลาว่าง จะได้จัดโต๊ะหนังสือเสียที, คำประกอบท้ายกริยา แสดงความโล่งใจ เช่น เขามานั่งคุยอยู่นานกลับไปเสียที เราจะได้ทำอย่างอื่นบ้าง.

ผักแว่น

หมายถึงน. (๑) (ถิ่น-ตราด) ต้นบัวบก. [ดู บัวบก (๑)]. (๒) ดู แว่น ๒ (๑).

บทดอกสร้อย

หมายถึงน. ชื่อคำร้อยกรองชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ มี ๔ คำ มี เอ๋ย เป็นคำที่ ๒ เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว มักมี ๔ คำกลอน และคำลงจบบทให้ลงว่า เอย, ดอกสร้อย ก็ว่า.

สีเสียดเปลือก

หมายถึงดู สีเสียด ๑ (๒).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ