ค้นเจอ 1,970 รายการ

คำโท

หมายถึง(ฉันทลักษณ์) น. คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ไม่ว่าคำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เป็นคำบังคับในการแต่งโคลง เช่น ข้า คว้า แล้ว.

คำพ้องความ

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า

ฉีกคำ

หมายถึงก. แยกพยางค์ของคำให้อยู่คนละวรรคหรือคนละบรรทัด มักใช้ในคำประพันธ์.

ยะ

หมายถึงคำประกอบข้างหน้าคำที่ตั้งต้นด้วย ย ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น ยะยอง ยะยั่ง ยะยัด ยะย้อย ยะย้าย.

ส่งสัมผัส

หมายถึงก. เรียกคำสุดท้ายของวรรคหน้าแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจองกับคำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไปว่า คำส่งสัมผัส.

สธุสะ,สาธุสะ

หมายถึงคำเปล่งขึ้นก่อนกล่าวคำอื่น เพื่อขอความสวัสดิมงคลอย่างเดียวกับคำ ศุภมัสดุ.

โอวาท

หมายถึง[-วาด] น. คำแนะนำ, คำตักเตือน, คำกล่าวสอน. (ป.).

คระ

หมายถึง[คฺระ] คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี คร- เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำคำหรือเป็นพหูพจน์ เช่น คระคราง (หมายความว่า ครางคราง) คระครึ้ม (หมายความว่า ครึ้มครึ้ม) คระโครม (หมายความว่า โครมโครม).

เจริญพร

หมายถึงเป็นคำเริ่มที่ภิกษุสามเณรพูดกับสุภาพชน และเป็นคำรับ.

ฉันนั้น

หมายถึงส. อย่างนั้น, เช่นนั้น, (เป็นคำรับใช้เข้าคู่กับคำ ฉันใด).

สุ

หมายถึงคำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ดี งาม ง่าย สำหรับเติมข้างหน้าคำ เช่น สุคนธ์. (ป., ส.).

ถ้อยแถลง

หมายถึง[-ถะแหฺลง] น. คำชี้แจง, คำประกาศ, คำอธิบายเป็นทางการ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ