ค้นเจอ 225 รายการ

พระองค์เจ้า

หมายถึงน. ยศสำหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ที่ประสูติแต่สามัญชน, ยศสำหรับพระโอรสหรือพระธิดาในพระองค์เจ้าลูกหลวงที่ประสูติแต่พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า, ยศสำหรับพระโอรสหรือพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าที่พระมารดาเป็นเจ้า, ยศสำหรับหม่อมเจ้าหรือผู้ที่ตํ่ากว่าหม่อมเจ้าที่ได้รับสถาปนา.

สิบสองพระกำนัล

หมายถึง(โบ) น. กำนัลที่มีหน้าที่รับใช้พระมหากษัตริย์ มี ๑๒ ตำแหน่ง ได้แก่ กำนัลรับพระหัตถ์ กำนัลพระขันหมาก กำนัลน้ำเสวย กำนัลพัชนี กำนัลพระสำอาง กำนัลพระมาลา กำนัลพระบังคน กำนัลพระไสยาสน์ กำนัลทิพยรส กำนัลพระโภชน์ กำนัลพระโอษฐ์ และกำนัลทาพระองค์. (กาพย์ขับไม้).

องค

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

องค-

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

องค์

หมายถึง[อง] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

เจ้า

หมายถึงน. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน; ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชำนาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคำเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า; เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.

ยานมาศ,ยานุมาศ

หมายถึง[ยานนะมาด, ยานุมาด] น. พระราชยานคานหามสำหรับพระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นพระแท่นราชบัลลังก์ทรงสูง หรือ พระแท่นราชบัลลังก์ทรงราบ มีทั้งที่มีพนักกงและไม่มีพนักกง ปิดทองทั้งองค์ ประกอบเข้ากับคานหาม ใช้หามหรือหิ้วถวายเป็นพระที่นั่งราชยานในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางบก.

กฤษฎีกา

หมายถึง[กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากำหนดแห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการบริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มีลักษณะเป็นกฎหมาย.

พัดยศ

หมายถึงน. พัดพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป หรือแก่พระภิกษุที่มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา การบริหาร หรือการเผยแผ่พระศาสนา เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแสดงลำดับชั้นแห่งสมณศักดิ์ มีรูปและชื่อต่าง ๆ กัน คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์.

สาสน,สาสน-,สาสน์,สาส์น

หมายถึง[สาน, สาสะนะ-, สาดสะนะ-, สาด, สาน] น. คำสั่ง, คำสั่งสอน, เช่น สาสนธรรม; จดหมายของประมุขของประเทศหรือประมุขสงฆ์ที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, ถ้าเป็นจดหมายของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระราชสาส์น, เขียนเป็น พระราชสาสน หรือ พระราชสาสน์ ก็ได้, ถ้าเป็นจดหมายของประธานาธิบดี เรียกว่า อักษรสาส์น, เขียนเป็น อักษรสาสน หรือ อักษรสาสน์ ก็ได้, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราช เรียกว่า สมณสาสน์, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เรียกว่า พระสมณสาสน์. (ป.).

สุพรรณบัฏ

หมายถึง[สุพันนะบัด] (ราชา) น. แผ่นทองคำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จารึกพระนามพระมหากษัตริย์ พระบรมราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป เจ้าประเทศราช และสมเด็จพระสังฆราช เรียกว่า พระสุพรรณบัฏ; แผ่นทองคำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จารึกราชทินนามของสมเด็จพระราชาคณะ ขุนนางชั้นสมเด็จเจ้าพระยา และขุนนางชั้นเจ้าพระยาบางคน ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพิเศษ; (โบ) แผ่นทองคำที่จารึกพระราชสาส์น.

พระราชกำหนด

หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ