ค้นเจอ 168 รายการ

ธารกำนัล,ธารคำนัล

หมายถึง[ทาระกำนัน, -คำนัน] น. ที่ชุมนุมชน, คนจำนวนมาก, เช่น ต่อหน้าธารกำนัล, โบราณเขียนเป็น ทารกำนัน ก็มี.

ประคำไก่

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นชนิด Drypetes roxburghii Wall. ในวงศ์ Euphorbiaceae ลำต้นและกิ่งก้านสีขาวนวล ใบหนาเป็นมัน ผลกลมรีสีขาวอมเทา ใช้ทำยาได้, มะคำไก่ ก็เรียก.

ผิดคำพูด

หมายถึงว. ไม่รักษาคำพูด, ผิดวาจา ก็ว่า.

กลับคำ

หมายถึงก. พูดแล้วไม่เป็นตามพูด, ไม่ทำตามที่พูดไว้, พูดแล้วเปลี่ยนคำพูด.

คำ

หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.

คำกร่อน

หมายถึง(ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออกเสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระโครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.

คำขวัญ

หมายถึงน. ถ้อยคำที่แต่งขึ้นเพื่อเตือนใจหรือเพื่อให้เป็นสิริมงคล.

คำประสม

หมายถึงน. คำที่เกิดจากการนำคำมูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประสมกันแล้วกลายเป็นคำใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมาอีกคำหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า.

คำร้องขอ

หมายถึง(กฎ) ดู คำร้อง ๑ (๒).

คำแสด

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Bixa orellana L. ในวงศ์ Bixaceae เมล็ดใช้ย้อมผ้า, แสด ก็เรียก. (๒) ดู แทงทวย.

คำโอง

หมายถึงก. โอ่โถง; อวดอ้าง.

ถอนคำฟ้อง,ถอนฟ้อง

หมายถึง(กฎ) ก. ยื่นคำร้องหรือคำบอกกล่าวต่อศาลแสดงความประสงค์ว่าจะไม่ดำเนินคดีที่ยื่นฟ้องไว้อีกต่อไป ในคดีแพ่งเรียกว่า ถอนคำฟ้อง ในคดีอาญาเรียกว่า ถอนฟ้อง.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ