ค้นเจอ 146 รายการ

เสกสรรปั้นแต่ง

หมายถึงก. แต่งเรื่องขึ้นมาโดยจะมีความจริงหรือไม่ก็ได้เพื่อให้เข้าใจผิด เช่น คนคนนี้ช่างเสกสรรปั้นเรื่องมาเล่าให้ผู้ใหญ่ผิดใจกันอยู่เสมอ.

อเนกรรถประโยค

หมายถึง[อะเนกัดถะปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยคโดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ.

สั่งเสีย

หมายถึงก. เตือน, กำชับ, บอกให้เข้าใจ, เช่น พอแม่จะออกจากบ้าน ก็สั่งเสียลูกให้ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย; บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป, บอกเป็นการอำลา, เช่น เขาตายโดยไม่ได้สั่งเสียลูกเมีย.

แถลงการณ์

หมายถึง(กฎ) น. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน. ก. อธิบายเหตุการณ์เป็นทางการ.

สำบัดสำนวน

หมายถึงก. พูดจาหลีกเลี่ยงไม่ให้เข้าใจตรง ๆ, ใช้คารมพลิกแพลง, เล่นลิ้น, เช่น อย่าสำบัดสำนวนให้มากนัก. น. สำนวน, คารมพลิกแพลง, เช่น เขาพูดมีสำบัดสำนวนมาก บทความของเขาเต็มไปด้วยสำบัดสำนวน.

ใส่หน้ากาก

หมายถึง(สำ) ก. แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัยใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างใส่หน้ากากเข้าหากัน, สวมหน้ากาก ก็ว่า.

สวมหน้ากาก

หมายถึง(สำ) ก. แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัยใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างสวมหน้ากากเข้าหากัน, ใส่หน้ากาก ก็ว่า.

ตลก

หมายถึง[ตะหฺลก] ก. ทำให้คนอื่นขบขันด้วยคำพูดหรือกิริยาท่าทางเป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า แกล้งทำให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่น เล่นตลก. ว. ขบขัน, ที่ทำให้คนอื่นขบขันด้วยคำพูดหรือกิริยาท่าทางเป็นต้น เช่น หนังตลก, เรียกผู้ที่ทำให้คนอื่นขบขันว่า ตัวตลก, เรียกเรื่องที่ทำให้ขบขันหรือเข้าใจผิดว่า เรื่องตลก.

อำพันขี้ปลา,อำพันทอง

หมายถึงน. วัตถุสีเทาและสีเหลือง มีกลิ่นหอม ลอยอยู่ในทะเลหรือริมฝั่งทะเลของประเทศแถบร้อน เข้าใจว่าเป็นขี้ปลาวาฬชนิดหนึ่ง ใช้เป็นเครื่องยาไทย.

ปรมัตถ์

หมายถึง[ปะระมัด, ปอระมัด] น. ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างยิ่ง, ความจริงอันเป็นที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก. ว. ลึกซึ้งยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ เช่น นี่เป็นเรื่องปรมัตถ์. (ป.).

หัวอ่อน

หมายถึงว. ว่าง่าย, สอนง่าย, เช่น เขาเป็นคนหัวอ่อน บอกอะไรก็เชื่อ, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง. ก. ยอมอ่อนตามง่าย เช่น เด็กคนนี้หัวอ่อนมาก พอชี้แจงให้เข้าใจก็เปลี่ยนความคิดทันที, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง.

สองหน้า

หมายถึงน. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตีทั้ง ๒ ข้าง. (สำ) ว. ที่ทำตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่าไว้ใจเขานักนะ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ