ค้นเจอ 94 รายการ

ภาพ,ภาพ-

หมายถึง[พาบ, พาบพะ-] น. ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย; รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึกเห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน, สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย. (ป., ส. ภาว).

เริด

หมายถึงว. เรียกอาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับว่า นอนตาเริด; เรียกอาการที่วิ่งมาอย่างเร็วด้วยความตื่นเต้นหรือกลัวเป็นต้นว่า วิ่งหน้าเริด; ร่นสูงขึ้นมามากเช่น นั่งกระโปรงเริดเลยหัวเข่า, (ปาก) สวยมากเป็นพิเศษ เช่น แต่งตัวเสียเริด.

ทลาย

หมายถึง[ทะ-] ก. อาการที่สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจาย เช่น กองทรายทลาย, พังหรือทำให้พัง เช่น กำแพงทลาย ทลายกำแพง, มักใช้เข้าคู่กับคำ พัง เป็น พังทลาย, โดยปริยายหมายความว่า ล้มเหลว ไม่ได้ดังหวัง เช่น ความฝันพังทลาย วิมานทลาย.

นอน

หมายถึงก. เอนตัวลงกับพื้นหรือที่ใด ๆ, อาการที่สัตว์เอนตัวลงกับพื้นเพื่อพักผ่อนเป็นต้นหรือยืนหลับอยู่กับที่, อาการที่ทำให้ของสูง ๆ ทอดลง เช่น เอาเสานอนลง, อาการที่พรรณไม้บางชนิด เช่น จามจุรี ผักกระเฉด ไมยราบ หลุบใบในเวลาใกล้จะสิ้นแสงตะวัน. ว. ลักษณะที่ตรงข้ามกับ ยืน หรือ ตั้ง เช่น แนวนอน แปนอน.

ท่าน

หมายถึงส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคำกลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่าลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คำที่ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์หรือตำแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.

รู้สึก

หมายถึงก. รู้ตัว เช่น ย่องไปข้างหลังอย่าให้เขารู้สึก หลับเป็นตายปลุกเท่าไรก็ไม่รู้สึก, รู้ด้วยการสัมผัส เช่น รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว, รู้สำนึก เช่น เขารู้สึกตัวว่าทำผิด, เกิดอาการที่รู้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์ เช่น รู้สึกสนุก รู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกมึนศีรษะ, เกิดสังหรณ์ขึ้นในใจ เช่น รู้สึกว่าจะมีใครมาหา, มีแนวโน้มให้สันนิษฐานหรือคาดคะเนว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เช่น รู้สึกว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาตกต่ำในปีนี้ ในที่สุดต้องยกเลิกเรื่องบางเรื่องเพราะรู้สึกว่าจะไปไม่รอด.

เจตภูต

หมายถึง[เจดตะพูด] น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษาสันสกฤตว่า “อาตมัน” เรียกในภาษาบาลีว่า “อัตตา” ก็มี “ชีโว” ก็มี, มีอยู่ในลัทธิว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป”, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.

สถานบริการ

หมายถึง(กฎ) น. สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในการค้า ดังต่อไปนี้ (๑) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง ประเภทที่มีและประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ (๒) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีหญิงบำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า (๓) สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า (๔) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง.

ไสยาสน์

หมายถึง[ไสยาด] ก. นอน, เรียกพระพุทธรูปในท่านอนว่า พระไสยาสน์ หรือ พระพุทธไสยาสน์, เรียกพระพุทธรูปปางนอนว่า พระปางไสยาสน์. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางอยู่ที่พื้นข้างพระเขนย พระบาททั้ง ๒ ตั้งซ้อนกัน. [ป. เสยฺย (นอน) + อาสน (นั่ง)].

ฌาน

หมายถึง[ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่งอารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทำจิตให้สงบตามหลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดยปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลำดับที่ประณีตขึ้นไปกว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียกว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความเงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ