ตัวกรองผลการค้นหา
ขยี่ขยัน
หมายถึง[ขะหฺยี่ขะหฺยัน] ก. ขยันขันแข็ง เช่น เห็นก็จะขยี่ขยันเขยื้อน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ขัช,ขัชกะ
หมายถึง[ขัด, ขัดชะกะ] (แบบ) น. อาหารควรเคี้ยว เช่น ตั้งขัชกโภชนาหาร. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. ขชฺช, ขชฺชก).
แขย่ง
หมายถึง[ขะแหฺย่ง] ว. แขย็ก ๆ, อาการที่ปีนขยับขึ้นไปทีละน้อย ๆ ขึ้นไปได้ไม่สะดวก, เช่น ผ้าคาดพุงผูกพันขยันตะแบง แขย่งเข่นฆ่าพร้าขัดเอว. (ม. ร่ายยาว ชูชก), มักใช้พูดเข้าคู่กับคำ เขย้อ เป็น เขย้อแขย่ง.
ครุคระ
หมายถึง[คฺรุคฺระ] ว. ขรุขระ, ไม่เรียบเป็นตะปุ่มตะป่ำ, เช่น ทั้งคางเคราก็ครุคระขึ้นรำไรอกย่นขนเขียวขดแข็ง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
แครก
หมายถึง[แคฺรก] ว. คราก, ใช้คู่กับคำ คราก เป็น ครากแครก หรือ แครกคราก ก็ได้ เช่น กบทูย้อยแยกแครกคราก. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ฉ่า
หมายถึงว. เสียงนํ้ามันเดือดเมื่อเวลาทอดของ; เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลงแม่เพลง; เสียงอื้ออึง เช่น จะชุมฉ่าชายจะมาก. (ม. ร่ายยาว ชูชก); เสียงนํ้าดังเช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
ตรวด
หมายถึง[ตฺรวด] (กลอน) ว. กรวด, สูงชัน, เช่น เฒ่าก็วิ่งตรวดตรงขึ้นต้นไม้. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ตะพัก
หมายถึงน. ที่ราบใต้น้ำข้างตลิ่ง มีลักษณะเป็นขั้น ๆ แคบ ๆ ลดต่ำลง เกิดจากแผ่นดินสูงขึ้นหรือต่ำลงเป็นครั้งคราว หรือเกิดจากถูกคลื่นเซาะ อาจสูงหลายเมตรก็ได้; ตะกอนที่ทับถมในทะเลเป็นรูปขั้นบันได, ผาชันในทะเลที่ถูกคลื่นกัดเซาะขยายตัวออกไปจนเป็นลาน ซึ่งเรียกว่า ลานตะพักคลื่นเซาะ; โขดหินหรือไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้, ใช้ว่า กระพัก ก็มี, เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
สะพัก
หมายถึงน. ผ้าห่มเฉียงบ่า ราชาศัพท์ใช้ว่า ผ้าทรงสะพัก. ก. ห่มผ้า, ห่มคลุม, เช่น สะพักพระถันปทุเมศ. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
สัตสดก
หมายถึง[-สะดก] น. หมวดละ ๗๐๐ เช่น แล้วประจงจัดสัตสดกมหาทานเป็นต้นว่าคชสารเจ็ดร้อย. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). (ป. สตฺตสตก).
เสียกำซ้ำกอบ,เสียกำแล้วซ้ำกอบ
หมายถึง(สำ) ก. เสียน้อยแล้วยังจะต้องเสียมากอีก เช่น พระองค์ช่างเชื่อฟังคำคนชั่วโฉด ชาวเมืองมันกล่าวโทษพลอยโกรธตอบ เสียกำแล้วจะซ้ำกอบกระมังหนา. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
เสียเช่น
หมายถึง(วรรณ) ว. มีกำเนิดไม่ดี เช่น บ้างก็ดุเดือดด่าขู่เขี้ยวเข็ญ ว่าอีชาติชั่วอีเสียเช่นชาติมันไม่ดี. (ม. ร่ายยาว ชูชก).