ค้นเจอ 104 รายการ

ภราดร,ภราดา,ภราตร,ภราตร-,ภราตฤ,ภราตฤ-

หมายถึง[พะราดอน, พะราดา, พะราตฺระ-, พะราตฺรึ-] น. พี่ชาย, น้องชาย. (ส. ภฺราตฺฤ; ป. ภาตา, ภาตุ).

ลุง

หมายถึงน. พี่ชายของพ่อหรือแม่ หรือชายที่มีวัยไล่เลี่ยแต่แก่กว่าพ่อหรือแม่, คำเรียกชายที่ไม่รู้จักแต่มักจะมีอายุแก่กว่าพ่อหรือแม่.

ปะ

หมายถึงก. มาเจอกัน, มาประเชิญหน้ากัน; เอาวัตถุเช่นผ้าหรือไม้เป็นต้นปิดทับส่วนที่ชำรุดเป็นช่องเป็นรู เช่น ปะผ้า ปะว่าว, ปิดทับ เช่น ปะหน้า.

แบหลา

หมายถึง[แบหฺลา] (ปาก) ว. อาการที่นอนแผ่กางมือกางเท้า ในคำว่า นอนแบหลา. (กลอน) ก. ฆ่าตัวตาย เช่น เห็นเพลิงพลุ่งรุ่งโรจน์โชตนา ก็แบหลาโจนเข้าในอัคคี, ฉวยคว้าได้กริชของพี่ยา จะแบหลาชีวันให้บรรลัย, น้องจะแบหลาครานี้ ตายตามพระพี่ที่หายไป. (อิเหนา).

โดร

หมายถึง[โดน] (กลอน; ตัดมาจาก ข. พิโดร) ก. หอม, กลิ่นหอมที่ฟุ้งไป; โดยปริยายหมายถึงดอกไม้ เช่น กระทึงทอง ลำดวนโดร รสอ่อน พี่แม่. (กำสรวล).

ซื้อหน้า

หมายถึงก. เสนอหน้า, สำแดงตัวออกมาให้เห็น, เช่น ครั้นตอบพี่มึงถึงแต้ม อีแสนแนมซื้อหน้าเข้ามาสู้. (ไกรทอง); กู้หน้า เช่น ยอมเสียเงินเพื่อซื้อหน้า.

ศรศิลป์ไม่กินกัน

หมายถึง(กลอน) ก. ทำอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศรศิลป์ไม่กินกัน. (รามเกียรติ์ ร. ๖); (สำ) ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.

เปะ

หมายถึงก. เอาสิ่งที่มีลักษณะข้นเหลวเป็นต้นซัดลงไป เช่น เอาโคลนมาเปะที่กำแพง, โดยปริยายหมายถึงทิ้งไว้ให้เป็นภาระของผู้อื่น เช่น เอาลูกมาเปะให้พี่สาวเลี้ยง.

ขมอย

หมายถึง[ขะมอย] น. หลาน, ลูกหลาน, เช่น ขมอยเมือเฝือแฝกหญ้า ยุงชุมฉ่าฝ่าเหลือบฝูง. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ข. กฺมวย ว่า หลาน, ลูกของพี่หรือของน้อง).

ดัก ๆ

หมายถึงว. อาการที่ดิ้นอย่างทุรนทุราย เช่น ปลาดิ้นดัก ๆ. (โบ; กลอน) ว. ลำบาก, อึดอัด, เร่าร้อนใจ, เช่น มาเดียวพี่ดักดัก ใจจอด แม่แม่. (นิ. นรินทร์), อะดัก ก็ว่า.

ใหญ่

หมายถึงว. โต เช่น พี่คนใหญ่, คนโต เช่น เขยใหญ่, มีขนาดโตกว่าหรือสำคัญกว่าเป็นต้นเมื่อเปรียบเทียบกัน เช่น ข่าวใหญ่ สงครามใหญ่, มีขนาดไม่เล็ก เช่น บ้านหลังใหญ่; รุนแรงมาก, อุตลุด, เช่น ทะเลาะกันใหญ่ ชกกันใหญ่.

สิ้นเชิง

หมายถึงก. สิ้นท่า, หมดท่า, หมดชั้นเชิง, เช่น อันธพาลเมื่อเจอนักสู้เข้าก็สิ้นเชิงนักเลง, โดยปริยายมักใช้กับคำ โดย หรือ อย่าง เป็น โดยสิ้นเชิง อย่างสิ้นเชิง หมายความว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุกประการ, เช่น ข่าวลือนี้ไม่มีมูลความจริงโดยสิ้นเชิง โครงการนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ