ค้นเจอ 218 รายการ

สัมปทา

หมายถึง[สำปะทา] น. ความถึงพร้อมด้วยคุณความดี เช่น อุฏฐานสัมปทา = ความถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ป., ส.).

แตะต้อง

หมายถึงก. ถูกต้องแต่เบา ๆ หรือเพียงนิดหน่อย, โดยปริยายหมายความว่า ยุ่งเกี่ยว, เกี่ยวข้อง.

ประโยค

หมายถึง[ปฺระโหฺยก] (ไว) น. คำพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอนหนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำถาม; ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).

ฝึกฝน

หมายถึงก. เพียรฝึก, พยายามฝึก, เช่นฝึกฝนตนเองให้ชำนาญในการเย็บปักถักร้อย.

พีร,พีร-

หมายถึง[พีระ-] น. ผู้เพียร, ผู้กล้า, นักรบ. (ป., ส. วีร).

บรากรม

หมายถึง[บะรากฺรม] (แบบ) น. ความเพียร, ความบากบั่น, ความพยายาม, ความแข็งขัน, ความก้าวไปเพื่อคุณในเบื้องหน้า. (ส. ปฺรากรฺม; ป. ปรกฺกม).

พอสถานประมาณ

หมายถึงว. เพียงระดับปานกลาง เช่น เขามีความรู้พอสถานประมาณ, พอสัณฐานประมาณ ก็ว่า.

ถลาก

หมายถึง[ถะหฺลาก] ว. ถากไปถูกเพียงผิว ๆ เช่น ฟันถลากไป ยิงถลากไป.

เอกรรถประโยค

หมายถึง[เอกัดถะ-] น. ประโยคที่มีเนื้อความเดียว มีบทกริยาสำคัญเพียงบทเดียว.

เขือม

หมายถึงก. เข้มแข็ง เช่น ทั้งอกไหล่ก็ผายผึ่งผงาดเงื้อมเขือมขยัน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

ดบัสวิน,ดบัสวี

หมายถึง[ดะบัดสะ-] (แบบ) น. ผู้ประพฤติความเพียร, ฤษี, เพศหญิงว่า ดบัสวินี. (ส. ตปสฺวินฺ).

พรรเหา

หมายถึง[พัน-] ว. มาก, ยิ่ง, พันเหา ก็ใช้ เช่น คือ เทพเพียงพันเหา. (สมุทรโฆษ).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ