ค้นเจอ 73 รายการ

สัตสดก

หมายถึง[-สะดก] น. หมวดละ ๗๐๐ เช่น แล้วประจงจัดสัตสดกมหาทานเป็นต้นว่าคชสารเจ็ดร้อย. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). (ป. สตฺตสตก).

ขุทกนิกาย

หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดเล็กน้อย รวบรวมข้อธรรมะที่ไม่อยู่ใน ๔ นิกายข้างต้น มี ๑๕ เรื่อง ซึ่งมีธรรมบทและชาดก รวมอยู่ในคัมภีร์นี้ด้วย.

อังคุตรนิกาย

หมายถึง[-คุดตะระ-] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงหลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.

บริเฉท,บริเฉท-

หมายถึง[บอริเฉด, บอริเฉทะ-, บอริเฉดทะ-] น. การกำหนด; ข้อความที่รวบรวมเอามาจัดเป็นตอน ๆ, ข้อความที่กำหนดไว้เป็นหมวด ๆ. (ป. ปริจฺเฉท).

เงินปี

หมายถึง(กฎ) น. เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง, โบราณเรียก เบี้ยหวัด หรือ เบี้ยหวัดเงินปี.

ข้าราชการ

หมายถึงน. (โบ) คนที่ทำราชการตามทำเนียบ; ผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการ; (กฎ) บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการการเมือง ข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ.

สวนพฤกษศาสตร์

หมายถึงน. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้มากชนิดทั้งในและต่างประเทศ รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ มักเขียนป้ายบอกชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ไว้ด้วย เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและพักผ่อนหย่อนใจเป็นต้น เช่น สวนพฤกษศาสตร์ที่พุแค จังหวัดสระบุรี. (อ. botanic garden, botanical garden).

กัณฑ์

หมายถึง[กัน] น. ข้อความที่แต่งเป็นคำเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคำเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ ๒ กัณฑ์; เรื่องหรือหมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง. (ป.).

เบี้ยหวัด

หมายถึงน. (โบ) เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง, เงินปี หรือ เบี้ยหวัดเงินปี ก็เรียก; เงินตอบแทนความชอบที่ให้แก่ทหารที่ออกจากประจำการ ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม.

อริยสัจ

หมายถึงน. ความจริงของพระอริยะ, ความจริงอันประเสริฐ; ชื่อธรรมสำคัญหมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา มี ๔ ข้อ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค (ทางแห่งความดับทุกข์). (ป. อริยสจฺจ).

กสิณ

หมายถึง[กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กำหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (นํ้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).

กระทรวง

หมายถึง[-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณำพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ