ค้นเจอ 182 รายการ

บังคับครุ

หมายถึงน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกดและไม่มีตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้นที่ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อำ ใอ ไอ เอา เช่น รำ ใจ และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน.

อัยกะ,อัยกา

หมายถึง[ไอยะ-] (ราชา) น. ปู่, ตา. (ป. อยฺยก).

กาสะ

หมายถึง(ราชา) น. การไอ, ใช้ว่า พระกาสะ. (ป., ส.).

จุดอิ่มตัว

หมายถึงน. ขีดขั้นที่อากาศสามารถรับไอนํ้าไว้ได้เต็มที่ ณ อุณหภูมิใดอุณหภูมิหนึ่ง ถ้าได้รับเกินขีดขั้นนี้ ไอนํ้าที่ได้รับเกินมาจะควบแน่นเป็นหยดนํ้า. (อ. saturation point).

ครุ

หมายถึง[คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).

หวูด

หมายถึงน. เครื่องเปิดไอนํ้าให้มีเสียงดังเช่นนั้น. ว. มีเสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงเปิดหวูด.

ฉัททันต์

หมายถึง(แบบ) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูลเรียกว่า ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ดู กาฬาวก); ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์. (ป.).

อรรธสระ

หมายถึง[อัดทะสะหฺระ] น. เสียงกึ่งสระกึ่งพยัญชนะ.

รูปสระ

หมายถึงน. ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, สระ ก็เรียก.

อุทบาน

หมายถึง[-บาน] น. บ่อนํ้า, สระน้ำ. (ป., ส. อุท + ปาน).

ชื้น

หมายถึงว. มีไอนํ้าซึมซาบอยู่ เช่น อากาศชื้น, ไม่แห้งทีเดียว เช่น ผ้าชื้น.

คำตาย

หมายถึงน. คำสระสั้นที่ไม่มีตัวสะกดพวกหนึ่ง และคำในมาตรา กก กด กบ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ