ค้นเจอ 94 รายการ

ดิฉัน

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคำสุภาพ, ดีฉัน ก็ว่า, ตามแบบผู้ชายใช้ว่า ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

ดีฉัน

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคำสุภาพ, ดิฉัน ก็ว่า, ตามแบบผู้ชายใช้ว่า ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

หมอ

หมายถึง(ปาก) ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เรียกเด็กด้วยความเอ็นดูว่า หมอนั่น หมอนี่, ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เรียกผู้ใหญ่ด้วยความหมั่นไส้เป็นต้น, (ใช้แก่ผู้ชาย), เช่น อย่าไปฟังหมอนะ, บางทีก็ใช้ว่า อ้ายหมอนั่น อ้ายหมอนี่ หรือ เจ้าหมอนั่น เจ้าหมอนี่.

เขือ

หมายถึง(กลอน) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่. (ลอ).

อีฉัน

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคำสุภาพ, อิฉัน ก็ว่า, (แบบ) ผู้ชายใช้ว่า ดิฉัน หรือ ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อิฉัน หรือ อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

จาร,จาร-,จาร-

หมายถึง[จาระ-] น. ผู้สอดแนม, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นในคำว่า จารกรรม จารชน จารบุรุษ จารสตรี. (ป., ส.).

อสีตยานุพยัญชนะ

หมายถึง[อะสีตะยานุพะยันชะนะ] น. ลักษณะน้อย ๆ ในร่างกายของผู้ที่เป็นพระมหาบุรุษมี ๘๐ อย่าง คือ ผู้ที่จะเป็นพระมหาบุรุษต้องสมบูรณ์ด้วยลักษณะสำคัญ ๓๒ อย่าง ซึ่งเรียกว่า มหาปุริสลักษณะ มีรอยพระบาทเป็นลายรูปจักรและอื่น ๆ ตามแบบเป็นต้น และสมบูรณ์ด้วยอสีตยานุพยัญชนะ. (ป.).

อิฉัน

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคำสุภาพ, อีฉัน ก็ว่า, (แบบ) ผู้ชายใช้ว่า ดิฉัน หรือ ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อิฉัน หรือ อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

วิภัตติ

หมายถึง[วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจำแนก; (ไว) ประเภทคำในภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคำแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).

อาตมภาพ,อาตมา,อาตมา

หมายถึง[-พาบ, อาดตะมา] ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด สำหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ส. อาตฺมภาว, อาตฺมา).

ปฐมบุรุษ

หมายถึง[ปะถมมะ-, ปะถม-] น. บุรุษที่ ๑, ตามไวยากรณ์ ได้แก่ สรรพนามพวกที่ใช้แทนชื่อผู้พูด เช่น ข้า เรา แต่ตามไวยากรณ์บาลีหมายถึงพวกที่เราพูดถึง เช่น เขา.

ข้าพระพุทธเจ้า

หมายถึง[ข้าพฺระพุดทะเจ้า] ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดินหรือกราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ