ค้นเจอ 76 รายการ

ปากหนัก

หมายถึงว. ไม่ใคร่พูดขอร้องต่อใคร ๆ, ไม่ใคร่ทักทายใคร. ก. พูดได้ช้า (ใช้แก่เด็กที่สอนพูด). น. เรียกยุงที่กัดเจ็บมาก ว่า ยุงปากหนัก.

พ่อเจ้าประคุณ

หมายถึงคำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้ชาย) เช่น โถ! พ่อเจ้าประคุณของย่า เจ็บไหม ทำไมไม่นอนที่โรงละครเลยล่ะพ่อเจ้าประคุณ.

เปล

หมายถึง[เปฺล] น. เครื่องสำหรับนอน ใช้ไกวหรือโยก, เครื่องสำหรับนอนเล่นแกว่งไกวไปมาได้, เครื่องสำหรับหามคนเจ็บ; เรียกภาชนะบางอย่างที่มีรูปลักษณะอย่างเปล เช่น ชามเปล.

แปลบ,แปลบ ๆ,แปล๊บ,แปล๊บ ๆ

หมายถึง[แปฺลบ] ว. ปลาบ, แวบ, วาบ, (ใช้แก่แสงสว่าง) เช่น ฟ้าแลบแปลบ; อาการที่รู้สึกเจ็บแวบแล่นเข้าไปในกาย, อาการที่รู้สึกวาบเข้าไปในหัวใจ, อาการที่สะดุ้งวับขึ้น.

ยอก

หมายถึงก. ตำฝังอยู่ในเนื้อ เช่น หนามยอกเอาหนามบ่ง, รู้สึกเจ็บแปลบคล้ายมีอะไรมาเสียดแทง เช่น รู้สึกยอกอก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนามยอกอก.

แผลริมอ่อน

หมายถึงน. แผลที่อวัยวะสืบพันธุ์เนื่องจากเชื้อกามโรคชนิด Haemophilus ducreyi จะเกิดเป็นตุ่มขึ้นก่อน แล้วแตกเป็นแผล ลักษณะขอบแผลอ่อนคล้ายแผลเปื่อย เลือดออกง่าย เจ็บ และบางครั้งต่อมนํ้าเหลืองบริเวณขาหนีบจะบวมโต.

ยอกย้อน

หมายถึงก. ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เช่น ทำกลอุบายยอกย้อน, กลับไปกลับมาอย่างมีเงื่อนงำ เช่น พยานให้การยอกย้อน, ยุ่งยากซับซ้อนสะสางยาก เช่น คดียอกย้อน. ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจายอกย้อน, ย้อนยอก ก็ว่า.

ระยำ

หมายถึงว. ชั่วช้า, ตํ่าช้า, เลวทราม, อัปมงคล, เช่น คนระยำ เรื่องระยำ ทำระยำ; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ยับเยิน, แหลก, เช่น ดังดวงแก้วตกต้องแผ่นผา ร้าวระยำช้ำจิตเจ็บอุรา. (อิเหนา).

ตอดเล็ก ตอดน้อย

หมายถึงก. ค่อย ๆ หาผลประโยชน์ทีละเล็กละน้อย เช่น ผู้ผลิตขึ้นราคาสินค้าทีละนิดหน่อย เป็นต้น เหมือนปลาที่กินเหยื่อบนเบ็ด ค่อย ๆ ตอด ค่อย ๆ เล็ม ได้ประโยชน์โดยไม่เจ็บตัว

ฝังเข็ม

หมายถึงก. เอาเข็มที่ทำเป็นพิเศษชะโลมน้ำมันมนตร์ วางบนแขนให้ปลายจิ้มลงในเนื้อ แล้วเสกให้ค่อย ๆ เข้าไปในแขนโดยเชื่อว่าเพื่อให้อยู่ยงคงกระพัน; วิธีการรักษาโรคแบบหนึ่งตามตำราแพทย์จีนโดยใช้เข็มปักลงตามตำแหน่งจุดต่าง ๆ เพื่อรักษาโรคหรือไม่ให้รู้สึกเจ็บเวลาผ่าตัด.

จ๊อก

หมายถึงว. เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัวที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสำนวนนักเลงไก่ เพราะไก่ตัวใดร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ๆ ก็ว่า.

ประคอง

หมายถึงก. พยุงให้ทรงตัวอยู่ เช่น ประคองตัวเอง, ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้มเป็นต้น เช่น ประคองคนเจ็บให้ลุก ประคองคนแก่เดิน, ระมัดระวังไม่ให้หกหรือพลั้งพลาด เช่น ประคองชามแกงให้ดี, โอบรัดเบา ๆ เช่น หนุ่มสาวเดินประคองกันไป; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ