ค้นเจอ 1,275 รายการ

กรรเอา

หมายถึง[กัน-] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กระเอา) ว. กลมกล่อม เช่น ไพเราะรสหวาน บรรสานกรรเอาเอาใจ. (สมุทรโฆษ).

เชื่อม

หมายถึงก. ทำของหวานอย่างหนึ่ง โดยเอานํ้าตาลใส่นํ้าตั้งไฟเคี่ยวให้ละลาย แล้วใส่สิ่งที่ต้องการเคี่ยวจนได้ที่ เช่น เชื่อมกล้วย, เคี่ยวนํ้าตาลให้ใสเพื่อประสมกับสิ่งอื่น เช่น วุ้นนํ้าเชื่อม. ว. เรียกนํ้าหวานที่เอานํ้าตาลเคี่ยวให้ใสเพื่อใช้ประสมหรือเคี่ยวกับสิ่งอื่นว่า นํ้าเชื่อม; ใช้ประกอบคำ หวาน หมายความว่า หวานมาก เช่น ตาหวานเชื่อม.

แยม

หมายถึงน. อาหารมีรสหวาน ทำโดยการเคี่ยวผลไม้กับนํ้าตาลจนข้น มักใช้ทาขนมปัง. (อ. jam).

เอียน

หมายถึงว. ชวนให้คลื่นไส้ (มักใช้แก่รสหวาน). ก. เบื่อมาก เช่น ฉันเอียนหน้าเขาเต็มทีแล้ว.

ไข่ยัดไส้

หมายถึงน. ไข่กรอกในกระทะให้บาง แล้วห่อไส้หมูสับผัดน้ำมันให้สุก ปรุงรสเค็มหวาน.

โกมล

หมายถึงว. อ่อน, งาม, หวาน, ไพเราะ, เช่น กรรณาคือกลีบกมลโก- มลกามแกล้งผจง. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).

ฟรักโทส

หมายถึง[ฟฺรัก-] (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่ง ประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดคีโทเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว หลอมละลายที่ ๑๐๒ °ซ. มีปรากฏในผลไม้สุกที่มีรสหวาน นํ้าผึ้ง นํ้าต้อยของดอกไม้ มีรสหวานมากกว่านํ้าตาลทราย, เลวูโลส ก็เรียก. (อ. fructose).

หม้อตาล

หมายถึงน. ชื่อขนมหวานชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีเป็นรูปทรงหม้อตาลขนาดเล็กแล้วหยอดน้ำตาล มีสีต่าง ๆ.

เหมวดี

หมายถึง[เหมะวะดี] น. ขัณฑสกร มีลักษณะคล้ายนํ้าตาลกรวด รสหวาน ใช้ทำยาไทย.

ปากหวาน

หมายถึงว. พูดจาไพเราะ (มักใช้ในทางที่ล่อใจหรือไม่จริงใจ); อาการที่รู้สึกหวานในปากเมื่อเวลาเป็นไข้.

พริกกะเกลือ

หมายถึงน. กับข้าวชนิดหนึ่งเอามะพร้าวตำจนมีนํ้ามันออกมา ใส่เกลือกับนํ้าตาล มีรสหวานเค็ม, เครื่องจิ้มผลไม้เปรี้ยวเป็นต้น ทำด้วยพริก เกลือ และน้ำตาล.

น้ำไทย

หมายถึงน. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งของชนิด Musa acuminata Colla ผลรูปรี เนื้อสีเหลืองส้ม รสหวาน.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ