ค้นเจอ 76 รายการ

กรม

หมายถึง[กฺรม] ก. ระทม, เจ็บอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรมใจ; กลัด เช่น กรมหนอง. [ข. กฺรุ :ํ (กฺรม) ว่า ลำบาก เช่น กฺรุ ํจิต = ลำบากใจ], ตรม ก็ว่า.

เขยก

หมายถึง[ขะเหฺยก] ก. อาการที่เดินหรือวิ่งด้วยปลายเท้าอย่างคนเท้าเจ็บ, อาการที่เดินหรือวิ่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการ.

ปากเบา

หมายถึงก. พูดได้เร็ว (ใช้แก่เด็กที่สอนพูด); พูดโดยไม่ยั้งคิด. น. เรียกยุงที่กัดไม่ค่อยจะรู้สึกเจ็บว่า ยุงปากเบา.

พะยุพยุง

หมายถึง[-พะยุง] ก. ช่วยกันพยุง เช่น ช่วยพะยุพยุงคนเจ็บ, พะยุพยุงจูงจับหิ้วปากคนละข้าง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

ดวงเดือนประดับดาว

หมายถึงน. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บจิตมิตรหมางค้างเขินขวย เวียนวนหลงลมงมงงงวย ฉาบฉวยรวยเร่อเธอถูกทาง.

เมฆฉาย

หมายถึง[เมก-] น. เงาเมฆ, เมฆที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปต่าง ๆ เนื่องจากการยกเมฆ เป็นนิมิตให้สามารถพยากรณ์ได้ว่าร้ายหรือดี เช่น ภาวนาเขม้นเห็นเมฆฉาย นิมิตเป็นรูปนารายณ์เรืองศรี. (ขุนช้างขุนแผน); การอธิษฐานโดยบริกรรมด้วยมนตร์ เชื่อกันว่าจะทำให้เงาของคนเจ็บลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วพิจารณาดูว่าคนเจ็บนั้นเป็นโรคอะไร.

ระบม

หมายถึงก. อาการเจ็บร้าวที่เกิดจากความเมื่อยขัดหรือบอบชํ้าเป็นต้น เช่น ฝีระบมจนเป็นไข้ ถูกตีระบมไปทั้งตัว, ชอกช้ำ เช่น อกระบม ระบมใจ.

สุขลักษณะ

หมายถึงน. ลักษณะที่ถูกต้องตามหลักปฏิบัติเพื่อความปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่น สร้างบ้านเรือนให้ถูกสุขลักษณะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ส้วมที่ถูกสุขลักษณะย่อมไม่แพร่กระจายเชื้อโรค.

ปะหงับ,ปะหงับ ๆ

หมายถึงว. อาการที่ปากอ้าและหุบลงเหมือนอยากจะพูดแต่ไม่มีเสียง, อาการที่ทำปากหงับ ๆ อย่างอาการของผู้ป่วยใกล้จะตาย เช่น นอนเจ็บปะหงับ ๆ.

แผลริมแข็ง

หมายถึงน. แผลที่อวัยวะสืบพันธุ์เนื่องจากเชื้อกามโรคซิฟิลิส จะเกิดเป็นตุ่มขึ้นก่อนแล้วแตกเป็นแผล ลักษณะก้นแผลเรียบ ขอบนูนแข็ง แผลมักสะอาด ไม่รู้สึกเจ็บ.

โพชฌงค์

หมายถึง[โพดชง] น. องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี ๗ ประการ; ชื่อพระปริตรที่พระสงฆ์สวดให้คนเจ็บหนักฟัง เรียกว่า สวดโพชฌงค์. (ป.).

ด้าน

หมายถึงว. กระด้าง, ไม่นิ่ม, เช่น มือด้าน ข้อศอกด้าน; ไม่เป็นมัน, ไม่เป็นเงา, เช่น สีด้าน กระดาษด้าน; จุดไม่ติดหรือไม่ระเบิด เช่น ประทัดด้าน ชนวนด้าน ลูกระเบิดด้าน; โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้สึกเจ็บ, ไม่รู้สึกอาย, เช่น หน้าด้าน.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ