ค้นเจอ 77 รายการ

ไพล่หลัง

หมายถึงก. เอาแขน ๒ ข้างไขว้ไปข้างหลัง เช่น ถูกจับมัดมือไพล่หลัง, เอามือ ๒ ข้างจับกันไขว้ไว้ข้างหลัง เช่น ตำรวจยืนถ่างขาเอามือไพล่หลังในเวลายืนรับเสด็จ.

มิสซา

หมายถึงน. พิธีกรรมในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก เพื่อระลึกถึงพระเยซูที่ทรงสั่งเสียสาวกขณะที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย โดยสัญญาว่า เมื่อประกอบพิธีแบ่งขนมปังดังที่พระองค์กระทำ พระองค์จะเสด็จมาประทับร่วมด้วยทุกครั้ง. (ล. missa; อ. mass).

นฤพาน

หมายถึง[นะรึ-] น. ความดับกิเลสและกองทุกข์. (โบ) ก. ตาย (ใช้แก่พระมหากษัตริย์) เช่น ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน. (พงศ. กรุงเก่า). (ส. นิรฺวาณ; ป. นิพฺพาน).

เรือพระที่นั่งศรี

หมายถึงน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทอดบัลลังก์กัญญา ดาดหลังคาด้วยผ้าสักหลาดสอดสีอย่างพนักอินทรธนู ถ้าเป็นเรือพระที่นั่งเพิ่มผ้าเยียรบับลายทองกลางกรอบพนักอินทรธนู.

จุกช่องล้อมวง

หมายถึง(โบ) ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินในเวลาเสด็จประพาสหรือในเหตุบางประการเช่นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร. (จุกช่อง คือ จัดคนให้รักษาการณ์อยู่ตามช่องทาง เช่น ตรอก ซอย ปากคลอง ล้อมวง คือ จัดคนให้ล้อมที่ประทับเป็นชั้น ๆ).

เรือพิฆาต

หมายถึงน. เรือหลวงสมัยโบราณ ทำหน้าที่ลาดตระเวนนำไปข้างหน้ากระบวนเรือเสด็จทางชลมารค และอยู่ท้ายกระบวนคอยถวายอารักขา กระบวนหนึ่งมีหลายลำ เช่น เรือมังกรจำแลง เรือมังกรแผลงฤทธิ์ เรือเหราล่องลอยสินธุ์.

เรือพระที่นั่งกิ่ง

หมายถึงน. เรือหลวงแบบโบราณสำหรับเป็นลำทรงของพระมหากษัตริย์ เสด็จในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งกิ่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่งกิ่งไกรสรมุข.

เรือขนาน

หมายถึงน. เรือที่ผูกหรือตรึงติดเรียงคู่กันสำหรับข้ามฟาก; เรือที่จอดเทียบท่าสำหรับรับเสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่ง; เรือที่ใช้ในการทำสังฆกรรมในน่านน้ำซึ่งจอดขนานไปกับลำน้ำให้ห่างจากฝั่งกว่าชั่ววักน้ำสาด.

อุปนิสัย

หมายถึง[อุปะนิไส, อุบปะนิไส] น. ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้องทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน, ความประพฤติที่เคยชินจนเกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี. (ป. อุปนิสฺสย).

นำ

หมายถึงก. ไปข้างหน้า เช่น นำขบวน นำเสด็จ, ออกหน้า เช่น วิ่งนำ, เริ่มต้นโดยมีผู้อื่นหรือสิ่งอื่นตามหรือทำตาม เช่น นำสวด นำวิ่ง, พา เช่น นำเที่ยว นำไป นำมา. ว. อาการที่ซักหรือถามเป็นเชิงแนะไปในตัว ในคำว่า ซักนำ ถามนำ.

ทัน

หมายถึงว. เป็นไปตามเวลาที่กำหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กำหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง, เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทันพระศรีสรรเพชญ์ เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร).

มหาชัย

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง ใช้บรรเลงในงานเกี่ยวกับเกียรติยศของบุคคลที่มาเป็นประธานในงานเช่นนายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคำปราศรัยจบลงก็บรรเลงเพลงมหาชัยเป็นพิเศษ หรือบรรเลงในงานรับรองบุคคลสำคัญ งานสโมสรสันนิบาต เป็นต้น และในระหว่างงานดำเนิน ถ้าไม่มีดนตรีบรรเลง จะใช้เพลงมหาชัยเป็นครั้งคราวด้วยก็ได้, ปัจจุบันสำนักพระราชวังและข้อบังคับกระทรวงกลาโหมกำหนดให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาชัยรับและส่งเสด็จในพิธีการที่พระบรมวงศ์เสด็จเป็นประธาน และบรรเลงรับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และบรรเลงเป็นเพลงเคารพธงราชวงศ์เวลาผ่านหรือขึ้นลง นายทหารที่มียศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ หรือนายกรัฐมนตรี.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ