ค้นเจอ 2,064 รายการ

เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร

หมายถึง(สำ) ก. ไม่ยอมยกสามีให้หญิงอื่นแม้จะแลกกับทรัพย์สินเงินทองจำนวนมากก็ตาม.

อยู่ไม่สุข

หมายถึงก. อยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้.

เสีย

หมายถึงก. เสื่อมลงไป, ทำให้เลวลงไป, เช่น เสียเกียรติ เสียศักดิ์ศรี เสียชื่อ; สูญไป, หมดไป, สิ้นไป, เช่น เสียแขน เสียชีวิต เสียทรัพย์; ชำรุด เช่น ถนนเสีย ทางเสีย; ใช้ไม่ได้ เช่น เครื่องไฟฟ้าเสียหมดทุกอย่าง รถเสียกลางทาง; ยับเยิน, ย่อยยับ, เช่น ปีนี้ฝนแล้งจัดเรือกสวนไร่นาเสียหมด, เสียหาย ก็ว่า; บูด เช่น แกงหม้อนี้เสียหมดทั้งหม้อ, เน่า เช่น ผลไม้เข่งนี้เสียแล้ว; ไม่ดี เช่น ราขึ้น ขนมปังจึงเสียหมดทั้งแถว เธอดัดผมบ่อยเกินไป ทำให้ผมเสีย; จ่ายเงิน, ชำระเงิน, เช่น เสียภาษี เสียค่าโทรศัพท์; หมดทรัพย์สินไปเพราะการพนัน เช่น เสียไพ่ เสียม้า; ตาย เช่น เขาเสียไปหลายปีแล้ว; (โบ) ทิ้ง เช่น ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก. (สุภาษิตพระร่วง), เสียไฟเป่าหิ่งห้อย. (ลอ). ว. ที่ไม่ดี เช่น นิสัยเสีย น้ำเสีย; พิการ เช่น ตาเสีย ขาเสีย; บูด เช่น อย่ากินแกงเสีย จะปวดท้อง.

เสีย

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อให้เน้นความหมายหรือให้เสร็จไป เช่น กินเสีย มัวไปช้าเสีย.

เสียเช่น

หมายถึง(วรรณ) ว. มีกำเนิดไม่ดี เช่น บ้างก็ดุเดือดด่าขู่เขี้ยวเข็ญ ว่าอีชาติชั่วอีเสียเช่นชาติมันไม่ดี. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

ป่วยกล่าว

หมายถึงก. เสียเวลาพูด เช่น จะป่วยกล่าวไปไย.

เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย

หมายถึง(สำ) ก. เสียเพียงเล็กน้อยไม่ยอมเสีย ทำให้ต้องเสียมากกว่าเดิม เช่น ตอนที่เบรกรถยนต์เริ่มไม่ดี ก็ไม่รีบไปซ่อม พอเบรกแตกไปชนต้นไม้เข้า เลยต้องเสียค่าซ่อมมาก เข้าทำนองเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย.

อึ้ง

หมายถึงว. นิ่งอั้นอยู่.

ผมสองสี

หมายถึงว. มีอายุแล้ว หมายถึง คนที่มีผมหงอกบ้างแล้ว เช่น เขาเป็นคนผมสองสีแล้ว. น. คนมีอายุแล้ว (มักใช้พูดในเชิงกระทบกระเทียบ) เช่น ผมสองสีแล้วยังทำเป็นเด็ก ผมสองสีแล้วยังพูดจาเชื่อถือไม่ได้, สองผม ก็ว่า.

ดอกพิกุลร่วง

หมายถึง(สำ) เรียกอาการที่นิ่งไม่พูดว่า กลัวดอกพิกุลจะร่วง.

สองฝักสองฝ่าย

หมายถึง(สำ) ว. ที่ทำตัวเข้าด้วยทั้ง ๒ ข้าง ซึ่งมักไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น ประเทศเล็กที่ช่วยตัวเองไม่ได้ มักต้องทำตัวสองฝักสองฝ่ายกับประเทศใหญ่เพื่อความอยู่รอดของตน.

ยืดยาว

หมายถึงว. ยาวมาก เช่น พูดเสียยืดยาว พรรณนาสรรพคุณเสียยืดยาว.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ