ค้นเจอ 181 รายการ

ขนอง

หมายถึง[ขะหฺนอง] น. หลัง, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนอง, ปฤษฎางค์ ก็ว่า. (ข. ขฺนง).

ขนาด

หมายถึง[ขะหฺนาด] น. ลักษณะของรูปที่กำหนดสังเกตได้ว่าใหญ่ เล็ก สั้น ยาว หนัก หรือ เบา เท่านั้นเท่านี้ เช่น ขนาดใหญ่ ขนาดยาว ขนาด ๒ ๑ เมตร; อัตรา, เกณฑ์ที่กำหนดไว้, เช่น ดีถึงขนาด เกินขนาด ไม่ได้ขนาด.

ขนานใหญ่

หมายถึง(ปาก) ว. มาก เช่น สับเปลี่ยนตำแหน่งกันขนานใหญ่.

ขนาบ

หมายถึง[ขะหฺนาบ] ก. ประกบเข้าให้แน่น เช่น เอาไม้ขนาบทั้งข้างล่างข้างบนหรือขนาบข้างเป็นต้น, ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีขนาบ, ติดชิดกันอยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น ที่ดินขนาบคาบเกี่ยวกัน; (ปาก) ดุดันเอา เช่น ถูกขนาบ; โดยปริยายหมายความว่า เรื่อยมา, ตลอดมา, เช่น รับของถวายกันขนาบมา. (ประพาสมลายู).

ขนำ

หมายถึง[ขะหฺนำ] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กระท่อมชั่วคราวในทุ่งนาเป็นต้น.

ขนิษฐ,ขนิษฐา

หมายถึง[ขะนิด, ขะนิดถา] น. น้อง. (เลือนมาจาก กนิษฐ, กนิษฐา).

ขนุน

หมายถึง[ขะหฺนุน] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus heterophyllus Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือสีจำปา รสหวาน กินได้ แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า, พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจำปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด.

ขนุนนก

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Palaquiumobovatum Engl. ในวงศ์ Sapotaceae มีนํ้ายางขาว จับเป็นก้อนแข็งเมื่อผสมกับยางอื่น ๆ ใช้ยาเรือได้.

ข้าวหัวโขน

หมายถึงน. ข้าวตากคั่วคลุกนํ้าตาลปึก.

เขน็ด

หมายถึง[ขะเหฺน็ด] น. ฟางที่ทำเป็นเชือกมัดฟ่อนข้าว, ขะเน็ด ก็ว่า.

เขนย

หมายถึง[ขะเหฺนย] (กลอน) น. หมอนหนุน, ราชาศัพท์ว่า พระเขนย. (ข. เขฺนิย).

แขน

หมายถึงน. อวัยวะที่ต่อจากไหล่ทั้ง ๒ ข้าง, (ราชา) เรียกอวัยวะตั้งแต่ศอกไปถึงไหล่ว่า พระพาหา ตั้งแต่ศอกไปถึงมือว่า พระกร; เรียกสิ่งที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปแขน เช่น แขนเสื้อ ไม้เท้าแขน.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ