ค้นเจอ 2,701 รายการ

ลูกคำ

หมายถึงน. เรียกคำ ๒ คำเมื่อเอามาประสมกันแล้วมีความหมายต่างไปจากคำเดิมว่า ลูกคำของคำตั้ง เช่น ลูกค้า ลูกเขย เป็นลูกคำของคำ ลูก.

กลิ่นอาย

หมายถึงน. กลิ่น. (เป็นคำที่มีความหมายซํ้า อาย ก็ว่า กลิ่น).

หน่วยคำ

หมายถึงน. หน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาซึ่งมีความหมาย อาจมีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของคำหรือเป็นคำก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ หน่วยคำอิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังได้ เช่น นก บันได เรียน และหน่วยคำไม่อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังไม่ได้ ต้องปรากฏร่วมกับหน่วยคำอื่นเสมอ เช่น นัก ชาว. (อ. morpheme).

คำ

หมายถึงน. ทองคำ เช่น หอคำ เชียงคำ.

ขมุ

หมายถึง[ขะหฺมุ] น. ชื่อชนชาวเขาเผ่าหนึ่งในตระกูลมอญ-เขมร.

หนา

หมายถึงคำประกอบท้ายคำอื่นที่มีความหมายไปในเชิงบังคับหรืออ้อนวอน เช่น อยู่เถิดหนา.

หมายถึงในภาษาบาลีและสันสกฤต ถ้าใช้ประกอบท้ายคำบางคำ แปลว่า เกิด เช่น บงกช ว่า เกิดในเปลือกตม หมายถึง บัว, วาริช ว่า เกิดในน้ำ หมายถึง ปลา, ทวิช ว่า เกิด ๒ ครั้ง หมายถึง พราหมณ์, นก.

เข้าล็อก

หมายถึงก. เป็นไปตามที่คาดหมาย.

เก่า

หมายถึงว. ก่อน เช่น ครูคนเก่า กรรมเก่า; ไม่ใหม่ เช่น ผ้าเก่า ของเก่า, คำนี้เมื่อใช้ประกอบกับคำอื่น ๆ มีความหมายต่าง ๆ กัน แล้วแต่คำที่นำมาประกอบ เช่น มือเก่า หมายถึง ชำนาญ, หัวเก่า หมายถึง ครึ ไม่ทันสมัย, รถเก่า หมายถึง รถที่ใช้แล้ว.

ฉะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ฉ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ฉาดฉาด กร่อนเป็น ฉะฉาด ฉ่ำฉ่ำ กร่อนเป็น ฉะฉ่ำ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.

การ,-การ,-การ

หมายถึงคำประกอบท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือน การ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.

สกรรถ

หมายถึง[สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมายคงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำเช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ