ค้นเจอ 636 รายการ

น้ำ

หมายถึงน. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคำ นํ้าใจ นํ้าพักนํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้า ต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสงแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.

สัตตบรรณ

หมายถึง[สัดตะบัน] น. ชื่อบัวสายพันธุ์หนึ่ง. (ดู บัว).

โกมุท

หมายถึงน. บัวแดง. (ป.).

ขุ่นเคือง

หมายถึงก. โกรธกรุ่น ๆ อยู่ในใจ, เคืองขุ่น ก็ว่า.

ปัทม,ปัทม-,ปัทม์

หมายถึง[ปัดทะมะ-, ปัด] น. ชื่อบัวหลวงพันธุ์หนึ่ง. (ดู บัว).

โกเมศ

หมายถึงน. ดอกบัว, บัว. (เลือนมาจาก โกมุท).

สัตตบงกช

หมายถึง[สัดตะบงกด] น. ชื่อบัวหลวงพันธุ์หนึ่ง. (ดู บัว).

กระมุท

หมายถึงน. บัว, กมุท ก็ว่า. (แผลงมาจาก กุมุท).

พระสุธารส

หมายถึงน้ำดื่ม, น้ำกิน

สฤก

หมายถึง[สฺริก] น. บัวขาว. (ส.).

กบเต้นกลางสระบัว

หมายถึงน. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า หมายชิดมิตรเชือนไม่เหมือนหมาย.

อัฏฐบาน

หมายถึง[-บาน] น. น้ำที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า น้ำกล้วยมีเม็ด น้ำกล้วยไม่มีเม็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น น้ำเหง้าอุบล น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, เขียนว่า อัฐบาน ก็มี.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ