ค้นเจอ 520 รายการ

อินธน์

หมายถึงน. การจุดไฟ; เชื้อไฟ, ไม้สำหรับติดไฟ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น นิรินธน์ ว่า ไม่มีเชื้อไฟ. (ป., ส.).

กัน

หมายถึงว. คำประกอบท้ายกริยาของผู้กระทำตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป แสดงการกระทำร่วมกัน อย่างเดียวกัน หรือต่อกัน เช่น คิดกัน หารือกัน.

ไม่

หมายถึงว. มิ, คำปฏิเสธความหมายของคำที่อยู่ถัดไป เช่น ไม่กิน ไม่ดี, ถ้าอยู่ท้ายคำ ต้องมีคำ หา อยู่หน้า เช่น หากินไม่.

ซุ้ม

หมายถึงน. ทำนองเพลงสำเนียงลาว ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงเดี่ยวลาวแพนโดยเฉพาะ เรียกว่า ออกซุ้ม.

หาร

หมายถึง[หาน] น. สิ่งที่เอาไปได้; การนำไป, การถือเอา, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น บริหาร อวหาร. (ป., ส.).

นา

หมายถึง(แบบ) คำบทบูรณ์ มักใช้ประกอบท้ายคำบทร้อยกรองให้มีความกระชับหรือสละสลวยขึ้น เช่น แลนา.

ชะล่า

หมายถึงน. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง ท้องแบน หัวเชิดขึ้นเล็กน้อย หัวตัดท้ายตัด มีขนาดยาวมาก.

คอซอง

หมายถึงน. ผ้าผูกคอแบบหนึ่ง ผูกใต้คอปกเสื้อกะลาสี; ซอกที่อยู่หัวเรือหรือท้ายเรือ.

อกตั้ง

หมายถึงว. เต็มที่, เต็มแรง, เช่น วิ่งอกตั้ง เดินอกตั้ง; เรียกอาการที่นั่งหรือยืนตัวตรงว่า นั่งอกตั้ง ยืนอกตั้ง.

ไตร

หมายถึง[ไตฺร] ว. สาม, คำสำหรับนำหน้าสมาสอย่างเดียว (บางทีใช้ว่า ตรี ก็ได้) เช่น ไตรลักษณ์ ไตรทวาร, แม้จะพูดไว้ท้ายคำบ้าง เช่น ผ้าไตร หอไตร ก็เพราะละท้ายสมาสเสีย คือ ผ้าไตรจีวร หอไตรปิฎก. (ส.).

กระมัง

หมายถึงว. คำแสดงความไม่แน่ใจ, คำแสดงความคาดคะเน, (ใช้ไว้ท้ายประโยค) เช่น เป็นเช่นนี้กระมัง, ในบทกลอนใช้ว่า กระหมั่ง ก็มี.

ตัวสะกด

หมายถึงน. พยัญชนะท้ายคำหรือพยางค์ที่ทำหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไปตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ