ค้นเจอ 3,122 รายการ

ส่งใจ

หมายถึงก. ส่งน้ำใจที่มีความปรารถนาดีเพื่อให้เป็นกำลังใจแก่ผู้รับ เช่น ส่งใจไปช่วยทหารในแนวหน้า.

พระ

หมายถึง[พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

ดำหนัก

หมายถึง(แบบ) น. ตำหนัก เช่น ผิธยลเยื้องไพรพระดำหนัก. (ม. คำหลวง ชูชก).

เสมอใจ

หมายถึงว. เหมือนใจ, ได้ดังใจ.

อ่อนจิตอ่อนใจ,อ่อนใจ,อ่อนอกอ่อนใจ

หมายถึงก. เหนื่อยใจ, ระอาใจ, ท้อใจ.

หวังใจ,หวังใจว่า

หมายถึงก. คาดว่า (มักใช้ในทางที่ดี) เช่น ข้าพเจ้าหวังใจว่าท่านคงจะประสบความสำเร็จ.

พระถัน , พระเต้า, พระปโยธร

หมายถึงเต้านม

พระเชษฐา, พระเชษฐภาดา,พระเชษฐภาตา

หมายถึงพี่ชาย ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และเจ้านายหมายถึง พี่ ที่ใช้เป็นกลางๆ

พระเกศา , พระเกศ, พระศก

หมายถึงเส้นผม

รวยรื่น

หมายถึงว. ชื่นใจ, สบายใจ.

ได้ใจ

หมายถึงก. เหิมใจ, ย่ามใจ, ชะล่าใจ, กำเริบ.

รำพึง

หมายถึงก. คิดถึง, คิดคำนึงอยู่ในใจ, เช่น เขารำพึงถึงความหลังด้วยความเศร้าใจ. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย เป็นกิริยารำพึง.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ