ค้นเจอ 109 รายการ

ทุด

หมายถึงอ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือติเตียน.

ทุน

หมายถึงน. ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ ลงไว้ กำหนดไว้ จัดตั้งไว้ เพื่อประโยชน์ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน; เงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตั้งไว้สำหรับดำเนินกิจการเพื่อหาผลประโยชน์.

ทุนเรือนหุ้น

หมายถึง(กฎ) น. ทุนจดทะเบียนของบริษัทซึ่งแบ่งออกเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน. (อ. capital stock).

ทุบหม้อข้าว

หมายถึง(สำ) ก. ตัดอาชีพ, ทำลายหนทางทำมาหากิน.

ทุพภิกขภัย

หมายถึง[ทุบพิกขะไพ] น. ภัยอันเกิดจากข้าวยากหมากแพงหรือการขาดแคลนอาหารในบ้านเมือง. (ป.).

ทุ่มตลาด

หมายถึงก. นำสินค้าจำนวนมากออกขายในราคาที่ตํ่ากว่าราคาปรกติ; (กฎ) นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศในราคาที่ตํ่ากว่าราคาปรกติของสินค้านั้น อันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กิจการอุตสาหกรรมภายในประเทศ. (อ. dumping).

ทุ่มเท

หมายถึงก. ยอมเสียสละให้อย่างล้นเหลือหรือเต็มกำลังความสามารถ เช่น ทุ่มเทเงินทอง ทุ่มเทกำลังความคิด.

ทุมโน

หมายถึง[ทุมมะโน] (แบบ; กลอน) ก. เสียใจ เช่น จะทุมโนโทมนัสน้อยใจไปไยนะน้องหญิง. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป.).

ทุรคม

หมายถึงก. ไปลำบาก, ไปถึงยาก. (ส.).

ทุเลา

หมายถึงก. ค่อยยังชั่ว เช่น ไข้ทุเลา; ผ่อนผัน เช่น ขอทุเลาไปอีกสัก ๒-๓ วัน.

ทุสสีล

หมายถึง[ทุดสีน] (แบบ) ว. ทุศีล. (ป.).

ทุ

หมายถึงว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคำอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กำหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคำหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง ก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคำ ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ