ค้นเจอ 54 รายการ

บัณรสี

หมายถึง[บันนะระสี] ว. ที่ ๑๕, ใช้กับคำว่า ดิถี เช่น บัณรสีดิถี = วัน ๑๕ คํ่า. (ป. ปณฺณรสี).

ปัณรสม,ปัณรสม-

หมายถึง[ปันนะระสะมะ-] ว. ที่ ๑๕. (ป.).

อินทรวงศ์

หมายถึง[อินทฺระ-] น. ชื่อฉันท์ ๑๒ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีสำเนียงไพเราะดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๗ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๖ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓

กระลา

หมายถึง(โบ) น. ท่วงที. (อนันตวิภาค); ที่, กอง, เช่น กระลาบังคลคนผจง. (ดุษฎีสังเวย). (เทียบ ข. กฺรฬา).

ติงสติม,ติงสติม-

หมายถึง[ติงสะติมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๓๐ เช่น ติงสติมสุรทิน. (ป.).

ร่ายสุภาพ

หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งมี ๕ คำ ส่งสัมผัสท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสกับคำที่ ๑ ที่ ๒ หรือที่ ๓ ของวรรคถัดไป และจะต้องจบด้วยโคลง ๒ สุภาพ.

แห่ง

หมายถึงน. ที่, มักใช้ซ้อนกับคำอื่น ในคำว่า แห่งหนตำบลใด ตำแหน่งแห่งที่, ลักษณนาม เช่น มีที่ดินอยู่หลายแห่ง. บ. ของ เช่น หอสมุดแห่งชาติ.

ปลาก

หมายถึง[ปฺลาก] (โบ) น. ที่, ฝ่าย, ข้าง.

กำลุง

หมายถึง(แบบ) บ. ใน, ที่, เช่น แล้วจึงตั้งกมลจิตร ประดิษฐ์กำลุงใน หุงการชาลอรรคนิประไพ ก็เผาอาตมนิศกนธ์. (ดุษฎีสังเวย).

จตุรถ-

หมายถึง[จะตุระถะ-] ว. ที่ ๔ เช่น จตุรถาภรณ์. (ส.; ป. จตฺตถ).

ฉพีสติม,ฉพีสติม-

หมายถึง[ฉะพีสะติมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒๖ เช่น ฉพีสติมสุรทิน ว่า วันที่ ๒๖ (แห่งเดือนสุริยคติ). (ป.).

ตติย,ตติย-

หมายถึง[ตะติยะ-] ว. ที่ ๓, คำรบ ๓, มักใช้ประกอบหน้าคำอื่น เช่น ตติยวาร. (ป.).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ