ค้นเจอ 41 รายการ

บิดซ้าย

หมายถึงว. เรียกอาการที่ห่มจีวรโดยม้วนชายด้านข้างทั้ง ๒ ให้เป็นลูกบวบหันออกทางซ้ายว่า ห่มบิดซ้าย.

ระเดียง

หมายถึงน. เรียกสายสำหรับตากผ้าสบงจีวรเป็นต้นของพระภิกษุสามเณรว่า สายระเดียง.

บิดขวา

หมายถึงว. เรียกอาการที่ห่มจีวรโดยม้วนชายด้านข้างทั้ง ๒ ให้เป็นลูกบวบหันเข้าทางขวาว่า ห่มบิดขวา.

กัปปิยการก

หมายถึง[-การก] น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค.

ชาย

หมายถึงน. ส่วนริมหรือปลายของสิ่งของบางอย่าง เช่น ชายผ้า ชายจีวร, ส่วนที่สุดเขต, ริม, เช่น ชายป่า ชายแดน ชายทะเล.

ขนด

หมายถึง[ขะหฺนด] น. ตัวงูที่ขด; ลูกบวบจีวร; โคนหางงู มักเรียกว่า ขนดหาง.

พาดควาย

หมายถึงว. เรียกลักษณะการห่มผ้าของพระอย่างหนึ่ง คือเอาจีวรจีบเข้าแล้วพาดบ่า แล้วคาดรัดประคดอก ว่า ห่มพาดควาย.

กรานกฐิน

หมายถึง[-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทำบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทำตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่า กรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).

ปากกบ

หมายถึงน. รอยมุมของสิ่งที่มีรูปสี่เหลี่ยมประกบกันเป็นรอยแบ่งมุมฉากออกเป็น ๒ มุม เช่น รอยมุมสบง จีวร กรอบรูป กรอบหน้าต่าง.

ผ้าเหลือง

หมายถึง(ปาก) น. จีวร เช่น เกาะชายผ้าเหลือง, เครื่องหมายแห่งพระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ในความว่า ไม่เห็นแก่พระ ก็เห็นแก่ผ้าเหลืองเถิด.

กัปปิยภัณฑ์

หมายถึงน. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือจีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.

สังฆาฏิ

หมายถึงน. ผ้าคลุมกันหนาวที่ภิกษุใช้ทาบบนจีวร ตามปรกติใช้พับพาดบ่าซ้ายในพิธีสงฆ์. (ป.; ส. สํฆาฏิ).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ