ค้นเจอ 305 รายการ

เสียเช่น

หมายถึง(วรรณ) ว. มีกำเนิดไม่ดี เช่น บ้างก็ดุเดือดด่าขู่เขี้ยวเข็ญ ว่าอีชาติชั่วอีเสียเช่นชาติมันไม่ดี. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

ส่องกระจก

หมายถึงก. ดูภาพตนเองในกระจกเงา, โดยปริยายหมายความว่า ให้สำรวจดูฐานะหรือข้อบกพร่องของตน (มักใช้ในอาการที่ดูหมิ่น) เช่น กลับไปส่องกระจกดูเงาตัวเองเสียบ้าง.

สละ

หมายถึง[สะหฺละ] ก. บริจาค เช่น สละทรัพย์ช่วยการกุศล, เสียสละ ก็ใช้; ผละออก เช่น กัปตันสละเรือ, ละทิ้ง เช่น สละบ้านเรือนออกบวช, ละวาง, ปล่อยวาง, (สิ่งที่ยังต้องการจะรักษาไว้กับตนอยู่เพื่อเห็นแก่ความสุขความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อพลีบูชาเป็นต้น), เช่น สละกิเลส.

สาว

หมายถึงน. หญิงที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปีขึ้นไป เช่น ย่างเข้าสู่วัยสาว โตเป็นสาวแล้วยังซุกซนเหมือนเด็ก ๆ, ถ้ายังไม่ได้แต่งงาน ใช้คำว่า นางสาว นำหน้าชื่อ. ว. เรียกคนและสัตว์ที่มีท้องครั้งแรกว่า ท้องสาว, เรียกต้นไม้ที่เริ่มผลิดอกออกผลครั้งแรก เช่น หมากสาว มะพร้าวสาว, เรียกหญิงที่ยังไม่แก่ตามวัย เช่น แม้จะอายุมากแล้ว แต่ก็ยังดูสาวอยู่, เรียกหญิงที่ยังไม่แต่งงาน เช่น จะพูดอะไรให้เกรงใจเขาบ้าง ถึงเขาจะอายุมากแล้วแต่ก็ยังเป็นสาวอยู่.

ประตู

หมายถึงน. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนันบางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจำนวนครั้งที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียกช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตูเดียว กิน ๓ ประตู.

สุนทรพจน์

หมายถึง[สุนทอนระ-, สุนทอระ-] น. คำพูดที่ประธานหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นกล่าวในพิธีการหรือในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๖ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ใช้เขียนในคำไทยมีบ้างเล็กน้อย คือ ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ระฆัง ตะเฆ่.

ลืมหูลืมตา

หมายถึงก. เปิดหูเปิดตารับรู้ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ทั่วไป เช่น รู้จักลืมหูลืมตาดูโลกเสียบ้างซิ; มักใช้แก่ฝนในความปฏิเสธ หมายความว่าหนักมาก เช่น ฝนตกอย่างไม่ลืมหูลืมตา.

กรุ่น

หมายถึง[กฺรุ่น] ว. อาการของไฟที่ยังไม่ดับแต่ไม่ถึงกับลุกโพลง เช่น ไฟติดกรุ่นอยู่, โดยปริยายหมายความว่า ยังเหลืออยู่บ้าง, มีเรื่อย ๆ อยู่, เช่น ควันกรุ่น หอมกรุ่น; ยังไม่ดับสนิท, ร้อนรุ่มอยู่ภายใน, เช่น โกรธกรุ่น.

ค่อย

หมายถึงว. คำนำหน้าความข้างท้ายให้ติดต่อกับความข้างหน้า แสดงกิริยาที่กระทำภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วค่อยไป, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ค่อย หมายความว่า น้อย, บ้าง, (ตามส่วนของสิ่งที่พูดถึง) เช่น ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยพูด, ไม่ใคร่ ก็ว่า.

เสียที

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความตั้งใจมั่นหมาย เช่น วันนี้มีเวลาว่าง จะได้จัดโต๊ะหนังสือเสียที, คำประกอบท้ายกริยา แสดงความโล่งใจ เช่น เขามานั่งคุยอยู่นานกลับไปเสียที เราจะได้ทำอย่างอื่นบ้าง.

เสียเส้น

หมายถึงก. เสียจังหวะ เช่น เขากำลังเล่าเรื่องตื่นเต้น เธอก็พูดขัดคอขึ้นมา ทำให้เสียเส้นหมด, พลาดโอกาสที่หวังไว้หรือที่ตั้งใจไว้ เช่น เตรียมจัดงานใหญ่โตเพื่อต้อนรับผู้ใหญ่ แต่ปรากฏว่าท่านไม่มา ทำให้เสียเส้นหมด.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ