ค้นเจอ 443 รายการ

นางสะ

หมายถึงน. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพรพื้นแดง เดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบพระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางแต่งตัวสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก.

กรมวัง

หมายถึง[กฺรมมะ-] น. แผนกราชการที่บริหารกิจการในพระราชสำนัก; ข้าราชการแผนกนี้ เช่น กรมวังรับสั่งใส่เกศี. (อิเหนา).

พาณิชยศิลป์

หมายถึงน. ศิลปกรรมประเภทหนึ่งซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในด้านธุรกิจการค้าโดยเฉพาะ เช่น ศิลปะในการเขียนภาพโฆษณา ศิลปะในการออกแบบเครื่องแต่งกาย.

เลี้ยงความ

หมายถึงก. อาการที่ทนายความของโจทก์และจำเลยสมคบกันถ่วงคดีความให้ล่าช้า โดยประสงค์ที่จะเรียกค่าใช้จ่ายในการว่าความที่ต้องยืดเยื้อออกไป.

โง่เง่าเต่าตุ่น

หมายถึง(สำ) ว. โง่ที่สุด เช่น เพราะโง่เง่าเต่าตุ่นพ่อคุณเอ๋ย ผู้ใดเลยจะประสงค์จำนงหมาย. (นิ. ทวาราวดี).

เจ้าประคู้น

หมายถึงน. คำเรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอให้มาช่วยให้สมประสงค์, เป็นคำอุทานแสดงถึงการอ้อนวอน อธิษฐาน บนบาน หรือ สาปแช่ง เป็นต้น.

พระสนม

หมายถึงน. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตายกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี.

กรำ

หมายถึง[กฺรำ] ว. ตรำ, ฝ่า, ทนลำบาก, เช่น กรำแดด กรำฝน, เคี่ยวเข็ญเย็นคํ่ากรำไป. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖).

ดัด

หมายถึงก. ทำให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ดัดไม้ ดัดนิสัย; ทำให้เที่ยงตรง เช่น พระดัดคดีดล โดยเยี่ยง ยุกดิ์นา. (ตะเลงพ่าย); ปลุก เช่น เคยดัดฤดีตาตื่นตรับ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). ว. ที่ทำให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ไม้ดัด ตะโกดัด.

ท่านผู้หญิง

หมายถึงน. เดิมใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของเจ้าพระยาและเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิง, ปัจจุบันใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป, ถ้ายังไม่ได้สมรสเรียกว่า คุณ.

ราชลัญจกร

หมายถึง[ราดชะลันจะกอน] น. ตราของพระมหากษัตริย์ (สำหรับใช้ตีหรือประทับ) เรียกว่า พระราชลัญจกร.

ช้างยืนแท่น

หมายถึงน. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงานพระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ