ค้นเจอ 346 รายการ

พระองค์เจ้า

หมายถึงน. ยศสำหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ที่ประสูติแต่สามัญชน, ยศสำหรับพระโอรสหรือพระธิดาในพระองค์เจ้าลูกหลวงที่ประสูติแต่พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า, ยศสำหรับพระโอรสหรือพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าที่พระมารดาเป็นเจ้า, ยศสำหรับหม่อมเจ้าหรือผู้ที่ตํ่ากว่าหม่อมเจ้าที่ได้รับสถาปนา.

ชทึง

หมายถึง[ชะ-] (กลอน) น. แม่นํ้า เช่น ชลชทึงบึงบาง. (ประกาศพระราชพิธี), ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทิง ว่า คลอง).

วางฎีกา

หมายถึงก. ยื่นใบแจ้งขอเบิกเงินจากคลัง; ยื่นฎีกาอาราธนาพระสงฆ์ (มักใช้เนื่องในงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธี).

ปราบดาภิเษก

หมายถึง[ปฺราบดาพิเสก] ว. มีอภิเษกอันถึงแล้ว. น. พระราชพิธีอภิเษกของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งได้ราชสมบัติมาด้วยการรบชนะข้าศึก. (ส. ปฺราปฺต + อภิเษก).

วันรัฐธรรมนูญ

หมายถึงน. วันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แก่ประชาชนชาวไทย ตรงกับวันที่ ๑๐ ธันวาคม.

ระทา

หมายถึงน. หอสูงรูปสี่เหลี่ยมหลังคาทรงยอดเกี้ยว ประดับดอกไม้ไฟนานาชนิด เช่น พลุ ตะไล จรวด ใช้จุดในงานพระราชพิธี.

ทึ่ง

หมายถึง(ปาก) ก. อยากรู้อยากเห็นเกินกว่าที่ควรจะเป็น (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถ); รู้สึกว่าน่าสนใจ, น่าอัศจรรย์ใจ, (ใช้ในทางที่ดี).

เขียง

หมายถึงน. ไม้รองรับการสับ หั่น มักเป็นแผ่นกลม ๆ; กระทงจำลองสร้างไว้บนบกสำหรับฝึกฝีพายที่พายเรือพระราชพิธี.

เรือพระที่นั่งชัย

หมายถึงน. เรือพระที่นั่ง เช่น เรือสุพรรณหงส์ เรืออนันตนาคราช เรือเอนกชาติภุชงค์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระชัยวัฒน์ประดิษฐานขึ้นเป็นประธานบนบุษบกกลางลำ เป็นเรือนำกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสด็จไปในการพระราชสงคราม หรือการพระราชพิธีสำคัญ, เรียกย่อว่า เรือชัย.

เห่

หมายถึงน. ทำนองที่ใช้ร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ร้องในพระราชพิธีขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม; คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้ายบทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และนักแสดงปฏิบัติตาม. ก. กล่อม เช่น เห่ลูก. ว. เสียงอย่างกล่อมลูก.

ราชโองการ,ราชโยงการ

หมายถึง[ราดชะโองกาน, ราดชะโยงกาน] น. คำสั่งราชการของพระราชา เรียกว่า พระราชโองการ หรือ พระบรมราชโองการ. (ดู โองการ).

ลดหลั่น

หมายถึงว. ต่ำลงไปเป็นชั้น ๆ เช่น นั่งลดหลั่นกันไปตามขั้นบันได, ตามลำดับชั้น เช่น พนักงานได้รับโบนัสมากน้อยลดหลั่นกันไป, ก่อนหลังกันเป็นลำดับ เช่น ข้าราชการเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลดหลั่นไปตามลำดับชั้น.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ