ค้นเจอ 316 รายการ

โหย่ง

หมายถึง[โหฺย่ง] ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น โหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น โหย่งฟาง โหย่งผม โหย่งเส้นบะหมี่, หย่ง ก็ว่า.

แหวก

หมายถึง[แหฺวก] ก. แยกให้เป็นช่อง, แยกสิ่งที่ปิดบังหรือกีดขวางให้เป็นช่องทาง เช่น แหวกม่าน แหวกหญ้า แหวกผม; ฝ่าสิ่งที่กีดขวางเข้ามาหรือออกไป เช่น แหวกวงล้อมข้าศึก.

ยอม

หมายถึงก. อาการที่แสดงออกบอกให้รู้ว่าเห็นด้วย ไม่ขัด ตกลงปลงใจ เช่น ยอมตามที่สั่ง ยอมนั่ง ยอมตาย, ผ่อนผันให้ เช่น ยอมให้ทำได้ ยอมให้ไป, ไม่สู้ เช่น เรื่องนี้ผมยอมเขา.

แหยม

หมายถึง[แหฺยม] น. ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุก, ส่วนของจุกที่แยกออกเป็นปอย ๆ ก่อนประกอบพิธีโกนจุก, เรียกหนวดที่เอาไว้แต่ ๒ ข้างริมฝีปากว่า หนวดแหยม.

เสริมสวย

หมายถึงก. ตกแต่งให้ดูสวยงามขึ้น (มักใช้แก่สตรี). น. เรียกสถานที่รับแต่งผม แต่งหน้า แต่งเล็บ เป็นต้น ว่า ห้องเสริมสวย หรือ ร้านเสริมสวย.

โล้น

หมายถึงว. ลักษณะของหัวที่โกนผมออกหมด; เกลี้ยงเตียน เช่น เขาโล้น. น. เรียกหัวโขนที่ไม่สวมมงกุฎหรือชฎา เช่น หัวนนทุก หัวเสนายักษ์ ว่า หัวโล้น.

มองโกลอยด์

หมายถึงน. ชนชาติผิวเหลือง มีลักษณะผมดำเหยียด หน้ากว้าง จมูกเล็ก ตาเรียว เช่น ไทย จีน ลาว เขมร เวียดนาม. (อ. Mongoloid).

แปล้

หมายถึงแบนราบ

ทรงเครื่อง

หมายถึงก. แต่งตัวมีเครื่องประดับ เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่อง, มีเครื่องปรุงพิเศษกว่าปรกติ เช่น กระท้อนทรงเครื่อง, ประดิดประดอยให้งดงามเป็นพิเศษ เช่น ตัวหนังสือทรงเครื่อง; (ราชา) ตัดผม (ใช้แก่เจ้านาย).

คลายคล้าย,คล้ายคล้าย

หมายถึงก. เคลื่อนเรื่อย ๆ ไป, คล้อย, เช่น หมอมิกลัวกลายจระคล่าย เข้าป่าไปคลายคล้ายด่วนดั้นโดยทาง. (ลอ), คลี่ไคลพลคล้ายคล้าย แลนา. (ลอ); (ถิ่น-พายัพ) ย้าย. (อะหม คล้ายคล้าย ว่า โดยลำดับ).

จุฑามณี

หมายถึงน. ปิ่น, ราชาศัพท์ว่า พระจุฑามณี; มวยผมของพระพุทธเจ้า; ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฑามณีเจดีย์, จุฬามณี ก็ว่า. (ส.; ป. จูฬามณี).

โซงโขดง

หมายถึง[-ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบเข้าไปเกล้าไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โองโขดง ก็ว่า. (สิบสองเดือน).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ