ค้นเจอ 249 รายการ

พอ

หมายถึงว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตามต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ; เหมาะ, เพียงทำได้, ควร; ถูก, ชอบ, เช่น พอใจ พอตา พอหู; อาจ ... ได้ เช่น ตาพอดู หูพอฟัง; เมื่อ, ครั้นเมื่อ, เพิ่ง.

ศรัทธา

หมายถึง[สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาในความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสาทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขาศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผนโบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).

เสนอ

หมายถึง[สะเหฺนอ] ก. ยื่นเรื่องราว ความเห็น ญัตติ เป็นต้น เพื่อให้ทราบ ให้พิจารณา หรือให้สั่งการ เช่น เสนอรายงานการเดินทางให้ผู้บังคับบัญชาทราบ เสนอโครงการให้พิจารณา เสนอบันทึกความเห็นเพื่อพิจารณาสั่งการ ลูก ๆ เสนอให้ไปพักผ่อนชายทะเล, แสดงให้เห็น เช่น เสนอตัวอย่างสินค้า เสนอละครเรื่องใหม่.

ฝ่ายค้าน

หมายถึงน. ฝ่ายที่แสดงความเห็นโต้แย้งความเห็นของฝ่ายเสนอในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายเสนอ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคที่ไม่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล ซึ่งทำหน้าที่ค้านรัฐบาลในรัฐสภา, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความเห็นโต้แย้งกับผู้อื่น เช่น เรื่องนี้แม้ใครจะเห็นด้วยก็ตาม แต่ฉันขอเป็นฝ่ายค้าน.

หนวกหู

หมายถึงก. รู้สึกรำคาญหูเพราะเสียงเซ็งแซ่อื้ออึง เช่น เด็ก ๆ เล่นกันเกรียว หนวกหูเหลือเกิน, โดยปริยายหมายความว่า รำคาญ เช่น เธอพูดมากฉันหนวกหูเต็มทีแล้ว. ว. เซ็งแซ่อื้ออึงรำคาญหู เช่น เด็ก ๆ จุดประทัดเล่นกัน เสียงหนวกหูจริง.

มา

หมายถึงก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย, ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคำกริยาแสดงอดีต เช่น นานมาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือแสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึงปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.

เสื่อผืนหมอนใบ

หมายถึงน. สำนวนที่เนื่องมาจากการที่คนจีนจากเมืองจีนเดินทางโดยเรือสำเภาเข้ามาทำมาหากินในเมืองไทย โดยไม่มีทรัพย์สมบัติหรือข้าวของติดตัวมานอกจากเสื่อกับหมอนเท่านั้นแล้วสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้; โดยปริยายหมายถึงมีสมบัติติดตัวเพียงเล็กน้อย แต่มีวิริยอุตสาหะแล้วสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้.

เวร

หมายถึงน. ความพยาบาท, ความปองร้าย, บาป, เช่นเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่นเวรของฉันแท้ ๆ ทำเงินเดือนหายไปทั้งเดือน, กรรมเวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. (ป.; ส. ไวร).

เสียดาย

หมายถึงก. รู้สึกอยากได้สิ่งที่เสียไปพลาดไปเป็นต้น ให้กลับคืนมา เช่น เธอเสียดายแหวนเพชรที่หายไป, รู้สึกว่าพลาดโอกาสที่ควรจะมีจะได้ เช่น เสียดายที่เขาไม่เชิญฉันไปงานนี้ด้วย, รู้สึกไม่อยากให้เสียไปโดยไม่ได้ประโยชน์ เช่น เปิดน้ำเปิดไฟทิ้งไว้ น่าเสียดาย; อาลัยถึงสิ่งที่จากไป เช่น เขาเสียดายที่คนดี ๆ ตายในอุบัติเหตุครั้งนี้หลายคน.

สามารถ

หมายถึง[สามาด] เป็นคำช่วยกริยาบอกว่ามีคุณสมบัติที่จะทำได้ เช่น เขาสามารถเดินได้ชั่วโมงละ ๕ กิโลเมตร เพื่อนฉันสามารถขี่จักรยานไต่ลวดได้. ว. มีคุณสมบัติที่จะทำได้ โดยเฉพาะทางความรู้หรือความชำนาญเป็นต้น เช่น ลูกเขาเป็นคนสามารถเรียนอะไรก็เรียนได้. (ส. สมรฺถ; ป. สมตฺถ).

เกล้ากระหม่อม

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

ปั้น

หมายถึงก. เอาสิ่งอ่อน ๆ เช่นขี้ผึ้งดินเหนียวเป็นต้นมาทำให้เป็นรูปตามที่ต้องการ เช่น ปั้นข้าวเหนียว ปั้นตุ๊กตา; สร้างขึ้น, เสกสรรขึ้น, เช่น ปั้นพยาน ปั้นเรื่อง; ชุบเลี้ยงและอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี เช่น ฉันปั้นเขามาจนได้ดี. น. ลักษณนามเรียกสิ่งที่ปั้นเป็นก้อน ๆ เช่น ข้าวเหนียว ๓ ปั้น.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ