ค้นเจอ 509 รายการ

สมสอง

หมายถึง(วรรณ) ก. อยู่เป็นคู่ผัวเมีย, เขียนเป็น สํสอง ก็มี เช่น ยงงขวบคืนสํสอง เศกไท้. (กำสรวล).

เส้นบรรทัด

หมายถึงน. เส้นที่ตีหรือพิมพ์ไว้บนกระดาษเป็นต้นเพื่อเขียนหรือพิมพ์ตัวอักษรบนเส้น ใต้เส้น หรือระหว่างเส้น.

จุรณ,จูรณ

หมายถึง[จุน, จูน] น. ของที่ป่น, ของที่ละเอียด, ผง, เช่น แหลกเป็นจุรณ, โบราณเขียนเป็น จุณ ก็มี. (ส. จูรฺณ; ป. จุณฺณ).

เสียบหนู

หมายถึงน. ไม้ที่เสียบขัดกับไม้ข้างควายที่ขนาบจากหลบหลังคาเรือน; ไม้ฝนทองที่เขียนบนพินทุอิ เป็น สระอี.

ใส่ความ

หมายถึงก. พูดหรือเขียนให้ร้ายป้ายสี, กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย, เช่น เขามีนิสัยไม่ดี ชอบใส่ความคนอื่น.

นักข่าว

หมายถึงน. ผู้สื่อข่าว, ผู้รายงานข่าว, ผู้เขียนข่าว, ผู้บอกข่าว, (ใช้เฉพาะทางสื่อสารมวลชน), ผู้ส่งข่าว ก็เรียก.

กริว

หมายถึง[กฺริว] น. เต่า เช่น เขียนกริวขึ้นขี่ที่ต้นคอ. (ขุนช้างขุนแผน), จริว หรือ ตริว ก็ว่า. (ดู ตะพาบ, ตะพาบน้ำ).

กิตติกรรมประกาศ

หมายถึงน. ข้อความที่กล่าวถึงผลงานและแสดงความขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือที่ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ มักเขียนไว้ตอนต้นของวิทยานิพนธ์. (อ. acknowledgements).

จิตร,จิตร,จิตร-,จิตร-

หมายถึง[จิด, จิดตฺระ-] น. การวาดเขียน, การระบายสี, ลวดลาย. ว. งดงาม, สดใส, ที่เขียนงดงาม. (ป., ส.).

โจทก์

หมายถึง[โจด] น. (กฎ) บุคคลผู้ฟ้องคดีต่อศาล; ผู้กล่าวหา. (เดิมเขียนเป็นโจทย์). (ป., ส.).

ลายมือ

หมายถึงน. รอยเส้นที่ฝ่ามือและนิ้ว เช่น หมอดูลายมือ, เส้นลายมือ ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เส้นลายพระหัตถ์; ตัวหนังสือเขียน มักมีลักษณะแสดงว่าเป็นของผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เขียนด้วยลายมือตัวเอง ลายมือดี, ราชาศัพท์ใช้ว่า ลายพระหัตถ์ ซึ่งหมายถึงจดหมายของเจ้านายด้วย.

เกร็ด

หมายถึง[เกฺร็ด] น. ส่วนย่อยหรือส่วนเบ็ดเตล็ด ซึ่งเป็นเรื่องสนุกหรือน่าสนใจที่เล่าหรือเขียนถึงเหตุการณ์สั้น ๆ ตอนใดตอนหนึ่งในชีวประวัติบุคคลสำคัญ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริง เช่น เกร็ดพงศาวดาร, เรื่องที่เขียนเล่าถึงบรรยากาศที่น่าสนใจหรือสนุกขบขันในที่ประชุมก่อนที่จะมีผลสรุปออกมา.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ