ค้นเจอ 260 รายการ

ลอง

หมายถึงก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิมผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือน้ำตาล; ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือเหมาะสมหรือไม่ เช่น ลองเสื้อ ลองแว่น ลองรองเท้า ลองกำลัง ลองรถ; หยั่งท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู.

สิทธิ์

หมายถึง[สิด] น. อำนาจอันชอบธรรม เช่น บุคคลมีสิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เขามีสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้. (ป., ส.); (กฎ) อำนาจที่จะกระทำการใด ๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย. (อ. right).

ราชินีนาถ

หมายถึงน. พระราชินีที่ทรงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ และทรงได้รับการสถาปนาพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ, พระเจ้าแผ่นดินที่เป็นผู้หญิง เช่น พระราชินีนาถวิกตอเรีย.

อุปนิสัย

หมายถึง[อุปะนิไส, อุบปะนิไส] น. ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้องทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน, ความประพฤติที่เคยชินจนเกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี. (ป. อุปนิสฺสย).

ธุร,ธุร-,ธุระ

หมายถึง[ทุระ-] น. หน้าที่การงานที่พึงกระทำ, กิจในพระศาสนา มี ๒ อย่าง คือ การเล่าเรียน เรียกว่า คันถธุระ และ การปฏิบัติทางใจ เรียกว่า วิปัสสนาธุระ; (ปาก) เรื่องส่วนตัว เช่น ไม่ใช่ธุระของคุณ. (ป., ส.).

พฤทธิ์

หมายถึง[พฺรึด] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์, ความอวบ, พฤฒิ ก็ใช้; ในไวยากรณ์หมายถึงเสียงยาวที่สุดของสระต่าง ๆ คือ ในบาลีและสันสกฤตได้แก่ อา เป็นพฤทธิ์ของ อะ เป็นต้น. ก. กระทำสระให้ยาวเช่นนั้น. (ส. วฺฤทฺธิ).

โฆษณา

หมายถึง[โคดสะนา] ก. เผยแพร่ข้อความออกไปยังสาธารณชน; ป่าวร้อง, ป่าวประกาศ, เช่น โฆษณาสินค้า; (กฎ) กระทำการไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า. (ส.; ป. โฆสนา).

เปรียบเทียบ

หมายถึงก. พิจารณาเทียบเคียงให้เห็นลักษณะที่เหมือนกันและต่างกัน. (กฎ) น. การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดค่าปรับผู้กระทำผิดในคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เปรียบเทียบปรับได้ เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่าปรับแล้ว คดีอาญาเป็นอันเลิกกัน; การที่นายอำเภอเรียกผู้ถูกร้องมาไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้วต่อกันในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมูลคดีเกิดในอำเภอนั้น หรือผู้ถูกร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอนั้น ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่.

ได้

หมายถึงก. รับมาหรือตกมาเป็นของตัว เช่น ได้เงิน ได้ลูก ได้แผล; ใช้ประกอบท้ายคำกริยา มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ความแวดล้อม คือ อาจ, สามารถ, เช่น เดินได้ เขียนได้; สำเร็จผล เช่น สอบได้; อนุญาต เช่น ลงมือกินได้ ไปได้; (ไว) คำช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้กิน ได้ไป; เรียกเงินหรือสิ่งที่ได้มาว่า เงินได้ รายได้.

สัญญาณ

หมายถึงน. เครื่องหมายหรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยินเป็นต้นแม้อยู่ในระยะไกล เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตรายหรือกระทำตามที่บอกหรือแนะไว้ เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง ตีระฆังเป็นสัญญาณให้พระลงโบสถ์.

วิทยุติดตามตัว

หมายถึงน. การกระตุ้นเตือนผู้พกพาเครื่องรับวิทยุที่ใช้ติดตัวโดยทางคลื่นวิทยุ ซึ่งกระทำผ่านข่ายโทรศัพท์สาธารณะ การกระตุ้นเตือนอาจประกอบด้วยเสียงพูดหรือรหัสที่มองเห็นได้ ซึ่งส่งมาจากผู้กระตุ้นเตือนหรือจากข่ายโทรศัพท์สาธารณะ.

วัตร,วัตร-

หมายถึง[วัด, วัดตฺระ-] น. กิจพึงกระทำ เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่ เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตร อุปัชฌายวัตร, การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ