ค้นเจอ 288 รายการ

กระบิดกระบวน

หมายถึงน. ชั้นเชิง เช่น ทำจริตกระบิดกระบวนสะบิ้งสะบัด. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กระเบ็ดกระบวน ก็ใช้. ก. แกล้งทำชั้นเชิงเหมือนไม่เต็มใจ เช่น อย่ากระบิดกระบวนนักเลย.

สาธารณ,สาธารณ-,สาธารณะ

หมายถึง[สาทาระนะ] ว. เพื่อประชาชนทั่วไป เช่น สวนสาธารณะ โทรศัพท์สาธารณะ บ่อน้ำสาธารณะ, ทั่วไป เช่น ถนนนี้ไม่ใช่ถนนสาธารณะ อย่าแต่งตัวประเจิดประเจ้อในที่สาธารณะ. (ป., ส.).

พ่น

หมายถึงก. ห่อปากเป่าให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในปากออกมาเป็นฝอยเป็นต้น, อาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พ่นไฟ พ่นสี, (ปาก) พูดมาก เช่น รีบ ๆ เข้าเถอะ อย่ามัวพ่นอยู่เลย.

กระสวน

หมายถึงน. แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน. (สุภาษิตสุนทรภู่); แบบตัวอย่างสำหรับสร้างหรือทำของจริง เช่น กระสวนเรือน กระสวนเสื้อ.

เสียหลัก

หมายถึงก. ผิดไปจากหลักการ หลักเกณฑ์ หรือความถูกต้องเป็นต้น เช่น เป็นผู้ใหญ่มีคนเขานับถือ ทำสิ่งใดอย่าให้เสียหลัก; ซวดเซ, พลาดท่า, ทรงตัวไม่ได้, เช่น คนเมาเสียหลักเลยพลัดตกลงไปในคลอง.

นิ่ง,นิ่ง ๆ

หมายถึงก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.

ชีพุก

หมายถึงน. พ่อ, ท่านพ่อ, เช่น ด่งงจริงชะรอยชีพุก หากทำทุกข์แก่มึงอย่าเลอย. (ม. คำหลวง ชูชก). (เทียบ ข. โอวพุก ว่า พ่อ).

ขุก

หมายถึงว. พลัน, ทันทีทันใด, เช่น ขุกเข็ญ ว่า เกิดความลำบากขึ้นทันที. ก. คิดขึ้นได้ทันที, เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วน, เช่น อาวุธอย่าวางไกล ขุกคํ่า คืนแฮ. (โลกนิติ).

สัญประกาศ

หมายถึง[สันยะปฺระกาด] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ - ใช้ขีดไว้ใต้คำหรือข้อความที่สำคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ, ขีดเส้นใต้ ก็เรียก.

พฤนท์

หมายถึง[พฺรึน ถ้าสัมผัสกับ อิ อ่านเป็น พฺริน] น. กอง, หมู่, จำนวนมาก. (ส. วฺฤนฺท); สังขยาจำนวนสูงเท่ากับโกฏิยกกำลัง ๗ หรือ ๑ มีศูนย์ ๔๙ ตัว. (ส. วฺฤนฺท; ป. พินฺทุ).

ร้อง

หมายถึงก. เปล่งเสียงดัง, โดยปริยายหมายถึงออกเสียงดังเช่นนั้น เช่น ฟ้าร้อง จักจั่นร้อง, (ปาก) ใช้หมายความว่า ร้องเพลง ร้องไห้ ก็มี แล้วแต่คำแวดล้อมบ่งให้รู้ เช่น เพลงนี้ร้องเป็นไหม อย่าร้องให้เสียน้ำตาเลย.

อักษรสาส์น

หมายถึง[อักสอระสาน, อักสอนสาด] น. จดหมายของประธานาธิบดีหรือประมุขของประเทศซึ่งมีชื่อเป็นอย่างอื่นที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, เขียนเป็น อักษรสาสน (อ่านว่า อักสอนสาน) ก็ได้.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ