ค้นเจอ 428 รายการ

กถามรรค

หมายถึง[-มัก] น. ลาดเลาแห่งกถา ได้แก่เรื่องที่แต่งตามอัตโนมัติของผู้แต่งว่าด้วยธรรมนั้น ๆ. (ส. กถา + มรฺค ว่า ทาง).

ตรีรัตน์

หมายถึงน. แก้วทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, โดยมากใช้ ไตรรัตน์. (ส. ตฺริรตน).

ธรรมันเตวาสิก

หมายถึง[ทำมัน-] น. อันเตวาสิก (ศิษย์) ผู้เรียนธรรมวินัย. (ส.; ป. ธมฺมนฺเตวาสิก).

ทาน,ทาน,ทาน-

หมายถึง[ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป., ส.).

แกว่งกวัด

หมายถึง[แกฺว่งกฺวัด] ก. จับด้ามวัตถุให้ปลายตั้งขึ้นแล้วปัดไปมา เช่น แกว่งกวัดอาวุธ, ไม่อยู่ที่ เช่น จิตแกว่งกวัด, กวัดแกว่ง ก็ว่า.

เส้า

หมายถึงน. ไม้หลักหรือวัตถุที่ตั้งหรือปักเป็น ๓ มุมสำหรับรองรับ เช่น เอาก้อนอิฐมาวางให้เป็น ๓ เส้า.

มุมหักเห

หมายถึง(แสง) น. มุมระหว่างรังสีหักเหกับเส้นปรกติที่ลากผ่านจุดตกกระทบบนผิววัตถุ.

ย่อมุม

หมายถึงก. ทำให้มุมของผังพื้นหรือวัตถุ เช่น แท่น ฐาน เสา ลึกเข้าไปทางด้านในเป็นมุม ๙๐ องศา.

ความเร็ว

หมายถึง(วิทยา) น. อัตราการเคลื่อนที่ของวัตถุต่อ ๑ หน่วยเวลา โดยระบุบ่งทิศทางของการเคลื่อนที่ด้วย. (อ. velocity).

ไตรสรณาคมน์

หมายถึง[-สะระนาคม] น. การถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.

วัตถุนิยม

หมายถึงน. ทฤษฎีหรือความเชื่อที่ว่าวัตถุเท่านั้นมีอยู่จริง; การให้คุณค่าแก่สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม, สสารนิยม ก็ว่า.

ศิลปลักษณะ

หมายถึงน. คุณสมบัติของงานศิลปกรรมที่ปรากฏให้เห็นได้จากรูปวัตถุที่ได้รับการสร้างสรรค์อย่างมีระเบียบ มีความกลมกลืนและความเรียบง่าย.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ