ค้นเจอ 322 รายการ

บทอัศจรรย์

หมายถึงน. บทร้อยกรองตามธรรมเนียมนิยมในวรรณคดี พรรณนาเพศสัมพันธ์ของชายหญิง มักกล่าวให้เป็นที่เข้าใจโดยใช้โวหารเป็นสัญลักษณ์หรืออุปมาอุปไมยเป็นต้น.

หินสบู่

หมายถึงน. หินแปรชนิดหนึ่ง ซึ่งเนื้อสารประกอบด้วยแร่ทัลก์เป็นส่วนใหญ่ มีเนื้ออ่อน เอาเล็บขูดเป็นรอยได้ง่าย และลื่นมือคล้ายสบู่.

ลัด

หมายถึงก. ตัดตรงไปเพื่อย่นทางย่นเวลา เช่น เดินลัดตัดทุ่ง, โดยปริยายหมายถึงการกระทำซึ่งลุล่วงได้โดยตรงและเร็วกว่าการกระทำตามปรกติ เช่น เรียนลัด.

คลอโรฟอร์ม

หมายถึง[คฺลอ-] น. ของเหลวไม่มีสี ระเหยง่าย มีกลิ่นหอมหวาน มีสูตร CHCl3 ใช้เป็นยาสลบและตัวทำละลาย. (อ. chloroform).

เสียรอย

หมายถึง(วรรณ) ก. ทำรอยให้หลงเข้าใจผิด เช่น แล้วเสียรอยถอยหลังลงสู่สระศรี. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

อบรม

หมายถึงก. แนะนำพรํ่าสอนให้ซึมซาบเข้าไปจนติดเป็นนิสัย, แนะนำชี้แจงให้เข้าใจในเรื่องที่ต้องการ, ขัดเกลานิสัย, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ บ่มนิสัย เป็น อบรมบ่มนิสัย.

อุปไมย

หมายถึง[อุปะไม, อุบปะไม] น. สิ่งหรือข้อความที่พึงเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง, คู่กับ อุปมา. (ป. อุปเมยฺย).

จันทรคราส

หมายถึง[-คฺราด] (ปาก) น. “การกลืนดวงจันทร์” ตามความเข้าใจของคนโบราณที่เชื่อว่าพระราหูอมดวงจันทร์, จันทรุปราคา ก็เรียก. (ส.).

โทสจริต

หมายถึง[โทสะจะหฺริด] น. ความประพฤติที่มีพื้นนิสัยหนักไปในทางใจร้อน หงุดหงิด โกรธง่าย, เป็นจริต ๑ ในจริต ๖ (ป.). จริต

วกวน

หมายถึงก. ลดเลี้ยวไปมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเข้าออกวกวน, อ้อมไปอ้อมมา, ย้อนไปย้อนมา, เช่น ให้การวกวน เขียนหนังสือวกวนอ่านไม่เข้าใจ.

สาไถย

หมายถึงน. การแสร้งทำให้เขาหลงผิดเข้าใจผิด, มักใช้เข้าคู่กับคำ มารยา เป็น มารยาสาไถย. (ป. สาเยฺย; ส. ศาฐฺย).

มืออ่อน

หมายถึงว. นอบน้อม, ไหว้คนง่าย (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ชมผู้น้อย); มีความสามารถน้อย เช่น เขายังมืออ่อนในการทำงาน, ตรงข้ามกับ มือแข็ง.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ