ค้นเจอ 253 รายการ

เอ้อเร้อเอ้อเต่อ

หมายถึงว. ปล่อยอารมณ์ตามสบาย, ยืดยาด เช่น มัวแต่เอ้อเร้อเอ้อเต่ออยู่นั่นแหละ จะทำอะไรก็ไม่ทำเสียที; มากจนล้น (ใช้แก่กริยากิน), เอ้อเร้อ ก็ว่า.

วิกัติการก

หมายถึง[วิกัดติ-] (ไว) น. คำที่อธิบายตำแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คำที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา “เป็น” หรือ “คือ” เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.

ปรัสสบท

หมายถึง[ปะรัดสะบด] น. “บทเพื่อผู้อื่น”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.

สับปลับ

หมายถึงว. กลับกลอกเชื่อไม่ได้ (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดสับปลับ เขาเป็นคนสับปลับ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ สับปลี้ เป็น สับปลี้สับปลับ.

ฟุ้ง

หมายถึงก. ตลบไป เช่น หอมฟุ้ง กลิ่นฟุ้ง, ปลิวไป, กระจายไป, เช่น ฝุ่นฟุ้ง. ว. มากเกินควร (ใช้แก่กริยาคุย) เช่น คุยฟุ้ง.

กรรตุวาจก

หมายถึง[กัดตุ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรตุการกคือผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรตุการกคือเป็นผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เช่น ครูเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ทำ) ครูให้นักเรียนเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ใช้ให้ทำ). (ป., ส. วาจก ว่า ผู้กล่าว).

บุพบท

หมายถึงน. คำชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ ทำหน้าที่เชื่อมคำต่อคำ อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือกริยา มีคำว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือของฉัน กินเพื่ออยู่.

เถอะ

หมายถึงว. คำประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือชักจูง เช่น เอาเถอะ มาเถอะ กินเถอะ, เถิด ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะ ก็มี.

ฉะ

หมายถึงก. ฟันลงไป; (ปาก) คำใช้แทนกริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คำห้อมล้อม เช่น ฉะปาก หมายความว่า ต่อยปาก, ฉะข้าว หมายความว่า กินข้าว.

พึง

หมายถึงว. คำช่วยกริยาอื่น หมายความยอมตาม แปลว่า ควร เช่น พึงไป ว่า ควรไป, หมายความจำเป็น แปลว่า ต้อง เช่น กิจที่สงฆ์จะพึงทำ ว่า กิจที่สงฆ์จะต้องทำ.

ความ

หมายถึง[คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คำนำหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.

เต็มปาก

หมายถึงว. ใช้ประกอบกริยาพูดหรือกล่าว หมายความว่า พูดได้สนิทปาก, พูดได้อย่างไม่กระดากปาก ไม่อ้อมแอ้ม, บางทีก็ใช้ว่า เต็มปากเต็มคอ หรือ เต็มปากเต็มคำ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ