ค้นเจอ 479 รายการ

แก่นสาร

หมายถึงน. สิ่งที่ยั่งยืนถาวร, หลักที่ควรยึดถือ,คุณประโยชน์, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่เป็นแก่นสาร.

สัมปทา

หมายถึง[สำปะทา] น. ความถึงพร้อมด้วยคุณความดี เช่น อุฏฐานสัมปทา = ความถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ป., ส.).

ไสย,ไสย-

หมายถึง[ไส, ไสยะ-] น. ลัทธิอันเนื่องด้วยเวทมนตร์คาถาซึ่งเชื่อว่าได้มาจากพราหมณ์ เช่น ถูกคุณถูกไสย.

ลหุ

หมายถึง[ละ-] ว. เบา; เร็ว, ฉับไว; ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน.

ยาชกะ

หมายถึง[-ชะกะ] น. ผู้ที่ทำพิธีบูชาหรือพิธีบวงสรวงแทนผู้อื่น. (ป., ส.).

ว่าความ

หมายถึงก. (กฎ) ว่าต่างหรือแก้ต่างแทนคู่ความในคดี; (โบ) ชำระความ เช่น ท้าวมาลีวราชว่าความ.

สรรพนาม

หมายถึง(ไว) น. คำที่ใช้แทนชื่อ นาม หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวชื่อ นาม หรือข้อความนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เขา เรา ท่าน.

ประทวน

หมายถึงน. ฐานันดรที่ตํ่ากว่าชั้นสัญญาบัตร เช่น นายทหารชั้นประทวน; สมณศักดิ์ชั้นตํ่ากว่าพระครูสัญญาบัตร; (โบ) หนังสือแทนสารกรมธรรม์.

จำนวนนับ

หมายถึง(คณิต) น. จำนวนที่เกิดจากการนับ จำนวนที่ใช้แทนการนับ ได้แก่ ๑, ๒, ๓, ๔ ... .

วัตถุนิยม

หมายถึงน. ทฤษฎีหรือความเชื่อที่ว่าวัตถุเท่านั้นมีอยู่จริง; การให้คุณค่าแก่สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม, สสารนิยม ก็ว่า.

เสียน้ำใจ

หมายถึงก. รู้สึกน้อยใจเนื่องจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่เห็นคุณค่าหรือความตั้งใจดีของตนเป็นต้น เช่น เขาอุตส่าห์เอาของมาให้แต่ไม่รับ ทำให้เขาเสียน้ำใจ.

กตัญญุตา

หมายถึง[กะตัน-] น. ความกตัญญู, ความเป็นผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ความเป็นผู้รู้คุณท่าน. (ป.).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ